Neevous System Diseases Flashcards
Encephalitis
โรคไข้สมองอักเสบ
เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสหรือแบคทีเรียที่สมอง
หรือปัญหาที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
Meningitis
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
Poliomyelitis (Polio)
โรคโปลิโอ
มีการอักเสบที่ไขสันหลัง ทำให้กล้ามเนื้อแขนขาเป็นอัมพาต
Rabies
โรคพิษสุนัขบ้า
หรือ hydrophobia~ โรคกลัวน้ำ
Shingles
งูสวัด
เกิดจากไวรัส ซ่อนอยู่ที่ปมประสาทรับความรู้สึก
Cerebrovascular accident(CVA)
โรคหลอดเลือดสมอง
Transient ischemic attack (TIA)
ภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ
Bell’s palsy
โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก
Cephalalgia (headaches)
ปวดหัว
Epilepsy
ลมบ้าหมู ลมชัก
Parkinson’s disease
โรคพาร์กินสัน
เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของสมอง
Multiple sclerosis
โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis) หรือโรคเอ็มเอส (MS) เป็นโรคของระบบประสาทที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติด้านการมองเห็น การเคลื่อนไหวร่างกาย และการรับความรู้สึกต่างๆ
โรคเอ็มเอสเป็นโรคที่เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวบางชนิดในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ ก่อให้เกิดการอักเสบและทำลายเนื้อเยื่อปลอกหุ้มประสาทหรือมัยอิลิน (myelin sheath) ในระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งหากเกิดการอักเสบและทำลายปลอกหุ้มประสาทบ่อยครั้งจะส่งผลให้เกิดแผลเป็นสะสมขึ้นหลายบริเวณในระบบประสาท ผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติในรูปแบบต่างๆ ขึ้นกับตำแหน่งที่มีการทำลายปลอกประสาทและอาจนำไปสู่ภาวะทุพพลภาพทางระบบประสาทในระยะยาวได้
Amyotrophic lateral sclerosis (ALS)
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
โรค ALS ไม่ใช่โรคของกล้ามเนื้อโดยตรง แต่เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง แล้วส่งผลทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงเนื่องจากขาดเซลล์ประสาทนำคำสั่งมาควบคุม ซึ่งเซลล์เหล่านี้มีอยู่ในไขสันหลังและสมอง โดยที่เซลล์ประสาทนำคำสั่งเหล่านี้ค่อยๆเกิดการเสื่อมและตายไปในที่สุด และเนื่องจาก ALS เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “โรคของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง (motor neuron disease; MND) หรือ โรคเซลล์ประสาทนำคำสั่งเสื่อม” ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะรู้จักโรคนี้ในนามของโรค ลู-เก-ริก (Lou Gehrig Disease) ซึ่งตั้งชื่อโรคตามชื่อนักเบสบอลที่มีชื่อเสียงที่เป็นโรคนี้ในปี 1930
Dementias
โรคภาวะสมองเสื่อม
Alzheimer’s disease
อัลไซเมอร์ เป็นหนึ่งในโรคที่เกิดจากความเสื่อมถอยของการทำงานหรือโครงสร้างของเนื้อเยื่อของสมองซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ โดยไม่ใช่ความเสื่อมตามธรรมชาติเพราะผู้สูงอายุไม่จำเป็นต้องเป็นอัลไซเมอร์ทุกคน แต่เป็นความเสื่อมที่เกิดจากโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เบต้า-อะไมลอยด์ (beta-amyloid) ชนิดไม่ละลายน้ำซึ่งเมื่อไปจับกับเซลล์สมองจะส่งผลให้เซลล์สมองเสื่อมและฝ่อลง รวมถึงทำให้การสื่อสารระหว่างเซลล์สมองเสียหายจากการลดลงของสารอะซีติลโคลีน (acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ส่งผลโดยตรงกับความทรงจำ