ข้อมูล/ข่าว ASEAN Flashcards
ให้สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารของประเทศสมาชิก ASEAN ได้
ผลการเลือกตั้งของมาเลยเซีย / นายกฯ คนล่าสุด
นาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย นำพรรคร่วมฝ่ายรัฐบาล (Barisan Nasional - BN) รับชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 13 ด้วยจำนวน 133 ที่นั่ง จาก 222 ที่นั่ง
ความสัมพันธ์ไทย-บรูไนดารุสซาลาม ปี 55
รัฐบาล ได้เจรจาผล้กด้นการขายข้าวหอมมะลิ ส่งเสริมความรว่มมือด้านอาหารฮาลาล และได้เจรจาให้เนการาบรูไนดารุสซาลามพิจารณาเพิ่มการจ้างแรงงานไทย
เตรียมความพร้อมของไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พ.ศ. ๒๕๕๘
ให้ความสำคัญกับการ ดำเนินงานใน ๖ ประเด็น ได้แก่ (๑) การขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนใน ๓ เสาหลัก ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านการเมืองและ ความมั่นคง (๒) การเชื่อมโยงในภูมิภาคอาเซียน เพื่อวางแผนพัฒนาศักยภาพ การเป็นศูนย์กลางอาเซียนของไทยใน ๓ เรื่อง ประกอบด้วย การขนส่ง การท่องเที่ยว และการสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม> (๓) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อวางแผนกำลังคนทั้งระบบ (๔) การบูรณาการกลุ่มจังหวัด โดยให้ความสำคัญ กับพื้นที่จังหวัดชายแดน เขตเศรษฐกิจพิเศษและพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเติบโต รวมทั้งการพัฒนาสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) (๕) การบูรณาการ ร่วมกับภาคเอกชน ๕ สถาบัน และ (๖) การพัฒนาปัจจัยสนับสนุนในการ ขับเคลื่อน ๓ เสาหลัก
การสร้างเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ
GMS Economic Corridors(ระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง) มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาการค้า การลงทุน คือเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อระหว่างเมืองสำคัญๆ ในกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Subregion) ประกอบด้วย 6 ประเทศคือ ไทย จีน (มณฑลยูนนาน) เวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า
ได้รับเงินอุดหนุนจาก ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย หรือ ADB (Asian Development Bank) ในการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานหลายแขนง โดยเฉพาะเส้นทางคมนาคมทางถนน แต่ก็รวมถึงระบบไฟฟ้า โทรคมนาคม สิ่งแวดล้อม และกฎหมาย
การสนับสนุนของไทยในการแก้ปัญหาโจรสลัดโซมาเลียและช่องแคบมะละกา
กองทัพเรือได้อนุมัติให้ผู้แทนกองทัพเรือของไทย ไปดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองกำลังเรือเฉพาะกิจผสมที่เรียกว่า Combined Task Force (CTF) 151 ระหวำางวันที่ ๑๑ มีนาคม ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๕ พร้อมทั้ง จัดชุดเจ้าหน้าที่จากกองทัพเรือเป็นฝ่ายอำนวยการ รวม ๑๕ นาย เพื่อคุ้มครองเรือพาณิชย์ที่แล่นผ่าน ในพื้นที่ช่องทางเดินเรือที่แนะนำในบริเวณอ่าวเอเดน
ใครดำรงตำแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการกฎหมาย ระหว่างประเทศซึ่งก่อตั้งโดยสมัชชาสหประชาชาติ สำหรับวาระปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙
นายเกรียงศักดิ์ กิตติชัยเสรี คือใคร เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา (ณ ขณะนั้น) ได้รับเลือกตั้งจากที่ประชมุสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ สมัยที่ ๖๖ เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๔
ไทยจะเลื่อนวันเปิดเทอม รร. ให้ตรงกับอาเซียนอย่างไร
ในปี 2014 ให้เป็นเดือน สิงหาคม
AEC Blueprint คือ
กรอบข้อตกลงในการดำเนินการทางเศรษฐกิจที่ชาติสมาชิกอาเซียนจะก้าวไปด้วยกัน เป็นเสมือนเป้าหมายหรือพันธกิจที่จะต้องพยายามเปลี่ยนจากนามธรรมให้เป็นรูปธรรม มีกรอบอยู่ 4 ข้อ
- ความเท่าเทียมในการพัฒนาของเศรษฐกิจภายในภูมิภาค (A Region Equitable Economic Developement)
- การเปิดเสรีบนฐานความคิดแบบตลาดเดียวและบนฐานการผลิต (A Single Market and Product Base)
- การผนวกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของผู้เล่นในเวทีเศรษฐกิจโลก (A Region Fully Integrated into the Global Economy)
- การส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจในภูมิภาค (A Highly Competitive Economic Region)
North-South Economic Corridor (NSEC)
เส้นทางนี้เป็นเส้นทางหลักของ GMS Economic Corridors โดยจะเน้นการเชื่อมต่อจีนตอนใต้ (มณฑลยูนนาน) เข้ากับภูมิภาคแหลมทองผ่านถนนในแนวเหนือ-ใต้
จุดเริ่มต้นของถนนในแนวเหนือ-ใต้ คือ เมืองคุนหมิง ส่วนจุดปลายจะแยกเป็นสองสายคือประเทศไทย และประเทศเวียดนาม
East-West Economic Corridor (EWEC)
งแนวตะวันออก-ตะวันตก เป็นการ “ตัดขวาง” เชื่อมระหว่างสองมหาสมุทรคือ มหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันออก และมหาสมุทรอินเดียทางตะวันตก
เส้นทางกลุ่ม EWEC มีเส้นเดียว ไม่มีเส้นย่อย จุดเริ่มต้นคือเมืองดานังในเวียดนาม (ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญของเวียดนาม) ตัดผ่านลาวและไทย มายังเมืองเมาะละแหม่ง หรือเมาะลำไย (Mawlamyine) ในพม่า
Southern Economic Corridor (SEC)
เส้นทางสายสุดท้าย เชื่อมต่อระหว่างไทย-กัมพูชา-เวียดนาม แบ่งเป็น 4 เส้นทางย่อย เรียงตามแนวบน-ล่าง
อาเซียน + 3 คืออะไร
อาเซียน + จีน เกาหลี ญี่ปุ่น
ประเทศอาเซียนที่ประชาชนส่วนใหญ่เป็นคริสต์คือ
ฟิลิปปินส์
อาเซียนประเทศใดมีประชากรมากสุด
อินโดนีเซีย
ประเทศใดบ้างที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับปัญหาทะเลจีนใต้
บรูไน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนามคือสี่ประเทศสมาชิกอาเซียนที่อ้างสิทธิ์ถือครองพื้นที่บางส่วนของเกาะและแนวปะการังในทะเลจีนใต้ ขณะเดียวกันจีนและไต้หวันก็อ้างสิทธิ์นี้ด้วยเช่นกัน
ความสำคัญของทะเลจีนใต้
ประการแรกคือ ทะเลจีนใต้เป็นเส้นทางการเดินเรือขนส่งสินค้าที่สำคัญของโลก อำนาจในการคุมการเดินเรือในทะเลจีนใต้ได้จึงถือเป็นความได้เปรียบอย่างสำคัญในยุทธศาสตร์ความมั่นคงของภูมิภาค
ประการที่สองคือ มีการคาดการณ์ว่าทะเลจีนใต้เป็นแหล่งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ โดยอาจมีน้ำมันดิบถึง 200 แสนล้านบาร์เรลสะสมอยู่ใต้ทะเล
อาเซียนมีวิธีการจัดการปัญหาในทะเลจีนใต้อยู่สามวิธีคือ
- ปล่อยให้ปัญหาทะเลจีนใต้กลายเป็นปัญหาการรุกล้ำเขตน่านน้ำในระดับ“ทวิภาคี”
- หากเกิดผลกระทบต่อความมั่นคงในระดับภูมิภาคแล้ว อาเซียนจำเป็นต้องเข้าไปมีบทบาทในการช่วยประสานหรือเป็นผู้ไกล่เกลี่ย
- บทบาทที่สามคือ อาเซียนอาจปล่อยให้บุคคลที่สามเข้ามาจัดการกับสถานการณ์ความขัดแย้งในภูมิภาคแทน