ปัญหาไทย-กัมพูชา Flashcards
สรุปปัญหาคดีความขัดแย้งเรื่องแนวพื้นที่ทับซ้อน
นายกรัฐมนตรีของกัมพูชา / ผู้นำรัฐบาลที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นายกรัฐมนตรีฮุน เซน ของกัมพูชา วัย 60 ปี ซึ่งปกครองกัมพูชา มาตั้งแต่ปี 2528 สัญญาว่า จะยอมปล่อยมือจากอำนาจ เมื่ออายุครบ 74 ปี
กัมพูชา ได้จัดการเลือกตั้งทั่วไปทุก 5 ปี มาตั้งแต่ปี 2536 แต่นายกรัฐมนตรีฮุน เซน สามารถกลับมาครองอำนาจได้ทุกครั้ง
ชาวกัมพูชากำลังจะออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งกันอีกครั้งในเดือนกรกฎาคม แต่นายสม รังสี ผู้นำฝ่ายค้าน ได้ถูกห้ามลงสมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากเผชิญข้อกล่าวหาที่เป็นความผิดหลายกระทง และต้องลี้ภัยอยู่ในฝรั่งเศสมาตั้งแต่ปี 2552
ความขัดแย้งเป็นมาอย่างไร
เริ่ม 2501 ขึ้นศาลโลก 2502 ตัดสินให้ปราสาทเป็นของกัมพูชา 2505
เหตุจากเอกอัครราชทูตกัมพูชา ประจำกรุงลอนดอน ซัมซารี ได้เขียนบทความเกี่ยวกับสิทธิเหนือปราสาทเขาพระวิหาร ลงในนิตยสาร กัมพูชาวันนี้ จึงทำให้เกิดกระแสในกัมพูชา
การตัดสินของศาลโลก
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศพิจารณาว่า รัฐบาลไทยในขณะนั้นได้ยอมรับ (acquiese) ว่า ฝรั่งเศส มีอำนาจอธิปไตยเหนือเขาพระวิหารเป็นเวลายาวนานถึง 50 ปีมาแล้ว ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ว่าด้วยหลักกฎหมายปิดปาก (estoppel)
ปัญหากรณีพิพาทในปัจจุบัน
พ.ศ. 2550 ประเทศกัมพูชาได้เสนอต่อองค์การยูเนสโก ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 31 ณ เมืองไครสต์เชิร์ช นิวซีแลนด์ ให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่ประเทศไทยมีปัญหาว่าแผนที่ที่กัมพูชาแนบท้ายว่าเป็นอาณาบริเวณของปราสาทพระวิหารนั้นได้ขีดเส้นเขตแดนล้ำเข้ามาในบริเวณทางทิศเหนือและทิศตะวันตกของปราสาท ซึ่งเป็นพื้นที่ทับซ้อน และได้ขีดเส้นเขตแดนประเทศล้ำเข้ามาในฝั่งไทย
28 เมษายน 2554 กัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเพื่อขอให้ศาลตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 และในวันเดียวกันประเทศกัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลเดียวกันเพื่อขอให้ศาลระบุมาตรการคุ้มครองชั่วคราวเพื่อรักษาสิทธิของกัมพูชาอย่างเร่งด่วน ปัจจุบันคดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างกระบวนพิจารณาของศาล
กรณี รมว.ต่างประเทศ
ฝ่ายกัมพูชาตกลงที่จะเปลี่ยนแผนที่ที่แนบในเอกสารคำขอยื่นขึ้นทะเบียนมรดกโลก โดยจดทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทประวิหารเท่านั้น ซึ่งตัวปราสาทนี้ศาลโลกได้พิพากษาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 แล้วว่าเป็นของกัมพูชา ทางกัมพูชาส่งแผนที่ที่ได้รับการปรับแก้ไขใหม่มาให้ฝั่งไทย เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน กรมแผนที่ทหารได้ตรวจสอบว่าแผนที่ใหม่ที่ส่งมานั้นไม่มีการล้ำเข้ามาในเขตไทย สภาความมั่นคงแห่งชาติจึงได้พิจารณาเห็นชอบ และคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบร่างคำแถลงการร่วม ต่อมาเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 นายนพดล ปัทมะ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศได้ลงนามคำแถลงการร่วมกับฝ่ายกัมพูชาและยูเนสโก
ถึงแม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญคัดค้านและตัดสินให้การดำเนินการของนาย นพดล ปัทมะ ที่รับรองกัมพูชาเป็นโมฆะ เมื่อ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ที่นครควิเบก ประเทศแคนาดา องค์การยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนตามคำขอของกัมพูชาให้ตัวปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
พนิช วิกิตเศรษฐ์ พร้อมกับพวกโดนจับ
29 ธันวาคม พ.ศ. 2553 พนิช วิกิตเศรษฐ์ พร้อมกับพวกจำนวน 6 คน ลงพื้นที่ตรวจสอบที่ได้รับเรื่องร้องเรียนว่าทหารกัมพูชารุกล้ำเข้ามาในเขตไทย บริเวณอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว ได้ข้ามแดนบริเวณหลักเขตแดนที่ 46 บ้านภูมิโจกเจย (บ้านโชคชัย) ตำบลโอเบยเจือน อำเภอโจรว จังหวัดบันเตียเมียนเจย และถูกทหารรักษาชายแดนที่ 503 ของกัมพูชาควบคุมตัว โดยศาลเขตพนมเปญได้ตั้งข้อหาพนิช และพวกในข้อหาเดินทางข้ามพรมแดนโดยผิดกฎหมาย และรุกล้ำเขตทหาร
เหตุการปะทะกำลัง
3เมษายน พ.ศ. 2552 ประเทศกัมพูชาได้ปะทะกับประเทศไทยด้วยอาวุธเป็นครั้งแรก
กุมภาพันธ์ 2554 มีการปะทะกันรุนแรงและบ่อยขึ้น จนถึง มิถุนายน 2554