การทูตทหาร Flashcards
เพื่อให้เข้าใจพิธีการทางการทูต
อายุหนังสือเดินทางทูต
มีอายุไม่เกิน 5 ปี (ไม่สามารถต่ออายุ) หรือเมื่อเสร็จภารกิจหรือผู้ถือขาดคุณสมบัติที่จะถือ หนังสือเดินทางทูต ให้ส่งหนังสือเดินทางทูตนั้นแก่กระทรวงการต่างประเทศ
วงรอบข่าวกรอง
- การวางแผนรวบรวมข่าวสาร
- การรวบรวมข่าวสาร
- การดำเนินกรรมวิธี
- การกระจายและการใช้ข่าวกรอง
งานการทูต ได้แก่
- งานการเป็นผู้แทนของประเทศ
- งานการเจรจา
- งานการข่าวสาร
- งานการคุ้มครอง
- งานการสร้างสัมพันธไมตรีและการแก้ปัญหา
นโยบายการข่าว ผบ.ทสส.
พัฒนาและส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงกับประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศเป็นกลไกหลักในการดำเนินการสนับสนุนการปฏิบัติงานของ ผู้ช่วยทูตฝ่ายการทหาร
หัวหน้าคณะผู้ช่วยทูตทหารต่างประเทศ/กรุงเทพ คือ (ข้อมูล ณ มีนาคม 56)
Brigadier General Dato’ Azmy Hj. Yahya ผชท.ทหาร มาเลเซีย/กรุงเทพฯ
คณะผู้ช่วยทูตทหารต่างประเทศ/กรุงเทพฯ มีกี่ท่าน จากกี่ประเทศ
จำนวน 39 นาย จาก 23 ประเทศ
นขต.สำนักวิเทศสัมพันธ์ ขว.ทหาร
แผนกธุรการ
กองวิเทศสัมพันธ์
กองพิธีการทูต
การการทูตฝ่ายทหาร
กองการทูตฝ่ายทหารมีหน้าที่
เสนอความเห็น วางแผน อำนวยการ ประสานงาน และดำเนินการเกี่ยวกับการทูตฝ่ายทหาร โดยการประสานกับกระทรวงการต่างประเทศ กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ และส่วนราชการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการให้แก่ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร และบุคคลสำคัญต่างประเทศ เกี่ยวกับการเยี่ยมคำนับ การปรึกษา ข้อราชการและการเยี่ยมหน่วยราชการต่างๆ จากผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารไทย และผู้ช่วยทูตทหารฝ่ายต่างประเทศ ตลอดจนกำกับดูแลผู้ช่วยฝ่ายทหารต่างประเทศ
กองพิธีการทูตมีหน้าที่
พิจารณาเสนอความเห็น วางแผน อำนวยการ ประสานงาน และดำเนินการเกี่ยวกับพิธีการทูต การรับรอง การจัดเลี้ยงบุคคลสำคัญต่างประเทศ ในนามกองบัญชาการกองทัพไทย นอกจากกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ร่วมมือและประสานงานกับส่วนราชการในกระทรวงกลาโหม และกระทรวงการต่างประเทศ ในเรื่องพิธีการทูตและการรับรองบุคคลสำคัญต่างประเทศในพระราชพิธี พิธีสำคัญทางทหาร และพิธีการ อื่น ๆ เสนอความเห็นและดำเนินการขอพระราชทานการประกอบพิธีมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเครื่องหมายต่าง ๆ ให้แก่ เจ้าหน้าที่ทางทหารและบุคคลสำคัญต่างประเทศ
กองวิเทศสัมพันธ์มีหน้าที่
เสนอความเห็น วางแผน อำนวยการ ประสานงาน และดำเนินการเกี่ยวกับการวิเทศสัมพันธ์ การประสานการช่วยเหลือทางทหารกับต่างประเทศในเรื่อง การฝึก ศึกษา การดูงาน การประชุมสัมมนา และการปฏิบัติหน้าที่ในด้านการต่างประเทศที่ได้รับมอบหมาย
*จัดทำทำเนียบ ผชท.ทหาร ไทย/ตปท.
ใครมีหน้าที่พิจารณาการจัดตั้ง สนง.ผชท.ทหาร ไทย/ต่างประเทศ
คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการพิจารณาทบทวนปรับปรุงการบริหารจัดการ สน.ผชท.ทหาร ไทย ในต่างประเทศ ของ กห.
จำนวนของ สนง.ผชท.ทหาร ไทยในต่างประเทศ
ปัจจุบันมีจำนวน ๕๔ สน. ตั้งอยู่ใน ๒๔ ประเทศ แบ่งเป็น บก.ทท. ๒ ประเทศ ทบ. ๑๗ ประเทศ ทร. ๑๘ ประเทศ และ ทอ. ๑๗ ประเทศ โดยมีประเทศประกอบด้วย ผชท.เหล่าทัพ ตั้งแต่ ๒ เหล่าขึ้นไป จำนวน ๑๘ ประเทศ โดยที่ผ่านมาเป็นการจัดตั้งตามความร่วมมือทางทหาร หรือความสัมพันธ์ระหว่างเหล่าทัพต่างๆ โดยไม่ได้มีการกำหนดเป้าหมายการดำเนินยุทธศาสตร์อย่างชัดเจน
ขั้นตอนการจัดตั้ง สนง.ผชท.ทหาร ไทยในต่างประเทศ
บก.ทท. (โดย ขว.ทหาร) -> ผบ.ทสส. (อนุมัติหลักการ) / ยก.ทหาร (อัตรา) / สปช.ฯ (งป.) / กต. (เห็นชอบเบื้องต้น) / สป.กห. (ดำเนินการต่อ)
กห. -> คณะอนุฯ / คกก.พิจารณาทบทวนปรับปรุงการบริหารจัดการฯ / สภากลาโหม / รมว.กห.
ครม. -> คณะกรรมการกลั่นกรอง (กพร., กพ., กต. สำนักงป.) / เข้า ครม. ให้เห็นชอบ
บก.ทท. (ขว.ทหาร อนุมัติตัวบุคคล)
ประเทศที่มี สน.ผชท.ทหาร ไทยในต่างประเทศประจำการ
24 ประเทศ 1 องค์กรระหว่างประเทศ
๑. เครือรัฐออสเตรเลีย (Australia)
๒. สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล (Brazil)
๓. ราชอาณาจักรกัมพูชา (Cambodia)
๔. สาธารณรัฐประชาชนจีน (China)
๕. สาธารณรัฐฝรั่งเศส (France)
๖. สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Germany)
๗. สาธารณรัฐอินเดีย (India)
๘. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Indonesia)
๙. สาธารณรัฐอิตาลี (Italy)
๑๐. ญี่ปุ่น (Japan)
๑๑. สาธารณรัฐเกาหลี (Korea)
๑๒. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Laos)
๑๓. มาเลเซีย (Malaysia)
๑๔. สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (Myanmar)
๑๕. สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน (Pakistan)
๑๖. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Philippines)
๑๗. สหพันธรัฐรัสเซีย (Russia)
๑๘. สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Singapore)
๑๙. สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ (South Africa)
๒๐. ราชอาณาจักรสเปน (Spain)
๒๑. ราชอาณาจักรสวีเดน (Kingdom of Sweden)
๒๒. สหราชอาณาจักร (United Kingdom)
๒๓. สหรัฐอเมริกา (United States of America)
๒๔. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Vietnam)
๒๕. สหประชาชาติ (The United Nations)
สน.ผชท.ทหาร ไทยในต่างประเทศ ภายใต้การดูแลของ บก.ทท.
สน.ผชท.ทหาร ไทย/พริทอเรีย (แอฟริกาใต้)
สน.ผชท.ทหาร ไทย/บราซิเลีย (บราซิล)
สน.ทปษ.คผถ.ฯ ณ นครนิวยอร์ก
สน.ผชท.ทหาร ไทย/บันดาร์เสรีเบกาวัน (บรูไน)
สน.ผชท.ทหาร ไทย/บันดาร์เสรีเบกาวัน ปรับอัตรามาจากที่ใด
ปรับจากอัตรา สน.ผชท.ทหาร ไทย/เวียงจันทร์ สปป.ลาว ตั้งแต่ ๑ เม.ย.๕๖
หน้าที่ของ ผชท.ทหาร ไทยในต่างประเทศ
ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการทูตฝ่ายทหาร พ.ศ. ๒๕๒๗
๑. เป็นผู้แทนทางทหารของกองทัพไทยในต่างประเทศ
๒. เป็นที่ปรึกษาของเอกอัครราชทูต อัครราชทูต หรืออุปทูต เกี่ยวกับกิจการทางทหาร
๓. เป็นผู้แทนของกองทัพต้นสังกัดในพิธีต่าง ๆ
๔. เป็นผู้สังเกตการณ์และประสานงาน ด้านกิจการทหารกับเจ้าหน้าที่ทางทหารของประเทศนั้น
๕. ควบคุม ดูแล และช่วยเหลือบุคคลสังกัดกระทรวงกลาโหม ที่ไปศึกษา หรือดูกิจการ ณ ประเทศที่ตนประจำอยู่ ให้เป็นไปตามนโยบายของกองทัพ หรือที่กระทรวงกลาโหมกำหนด
๖. ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพไทยกับกองทัพของประเทศที่ตนประจำอยู่
๗. เชื่อมความสัมพันธ์กับผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารของประเทศอื่น ๆ ที่ประจำอยู่ ณ ประเทศ นั้น
๘. เป็นผู้แทนของกองทัพหรือกระทรวงกลาโหม ในการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ และสิ่งของ ตามความต้องการของกองทัพ หรือกระทรวงกลาโหม เมื่อได้รับมอบหมาย
๙. อำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่ทางทหารที่จะเข้าไปยังประเทศที่ตนประจำอยู่ ตามความเหมาะสม
๑๐. ติดต่อประสานในการขอ หรือให้ความช่วยเหลือทางทหาร ในกรณีที่ ไม่มีหน่วยติดต่อช่วยเหลือทางทหารประจำอยู่ ณ ประเทศนั้น
๑๑. อำนวยการและกำหนดระเบียบในสำนักงาน ให้สอดคล้องกับนโยบายของกองทัพ และกองบัญชาการกองทัพไทย
๑๒. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
การรายงานข่าว ควรทำเมื่อ
มีการปรับย้ายนายทหารระดับสูง
สรุปสถานการณ์สำคัญในรอบปี
รายงานการเดินทางมาศึกษา
อื่นๆ
การประชุมทางไกลกับ ผชท.ทหาร ไทย/ตปท. กระทำเมื่อ
พุธ และ พฤหัสบดี ที่ ๓ ของทุกเดือน