พิธีการทูต Flashcards

1
Q

กลัดกระดุม

A

สากล 2 ชิ้น (Two-piece Suit ) กระดุม 2 เม็ด กลัดกระดุมเม็ดบน อย่ากลัดกระดุมเม็ดใน
สากล 2 ชิ้น กระดุม 3 เม็ด กลัดกระดุมเม็ดกลาง
สากล 3 ชิ้น (Three-piece Suit) เมื่อใส่เวสโคทแล้วไม่กลัดกระดุมเม็ดล่าง และจะไม่กลัดกระดุมเสื้อนอก ( เว้นเสื้อนอกกระดุมสองแถว )

How well did you know this?
1
Not at all
2
3
4
5
Perfectly
2
Q

คนหน้าใหญ่ กลม เหลี่ยม ควร

A

ใช้เสื้อเชิ้ตคอปกตัดแหลมลึก ผูกเงื่อนเนกไทแบบ 4 ตวัด ปมที่ติดคอจะออกมาเฉียงแบบนายกฯ อภิสิทธิ์

How well did you know this?
1
Not at all
2
3
4
5
Perfectly
3
Q

เนกไทที่เหมาะสม

A
  • อย่าใช้เสื้อยืดที่มีคอเชิ้ตผูกเน็คไท (เคยพบเห็น - ไม่สุภาพ)
  • ต้องกลัดกระดุมบนเสื้อเชิ้ตทุกครั้งที่ใส่เน็คไท และดึงเน็คไทให้ตึงเสมอ
  • การเลือกเน็คไท ควรเลือกสีหรือลายที่เหมาะสมและเรียบๆ เข้ากับสูทและไม่ควรใช้เส้นเล็ก หรือใหญ่เกินไป
  • กว้างระหว่าง 2-4 นิ้ว ปลายแหลมคลุมหัวเข็มขัดพอดี ข้าราชการหรือผู้มีสังกัดควรใช้เนกไทลายขวาง
  • เน็คไทและโบว์ไท ต้องเป็นแบบผูก อย่าใช้แบบเกี่ยวกับคอเสื้อ
  • อย่าใช้เน็คไทสีฉูดฉาด หรือมีลวดลาย เช่น ต้นไม้ ดอกไม้โตๆ ภาพเรือใบ ฯลฯ ดูแล้วไม่สุภาพ ควรใช้สีเรียบๆ สีสุภาพจะเป็นสีแดง, น้ำเงิน, หรือสีแดงสลับน้ำเงิน
  • เมื่อผูกเน็คไท อย่าให้เส้นหลังยาวกว่าเส้นหน้า ( ปลายเส้นหน้าควรอยู่เสมอเข็มขัด )
  • การใช้ผ้าพันคอ ( Scarf ) นั้น ไม่ควรพันคอหลายๆ รอบแต่ควรใช้ชายขวาทับชายซ้าย และใส่ Overcoat ทับอีกทีหนึ่ง
  • โบว์ไทมักใช้กับผู้ชายที่มีความอ่อนโยนแบบผู้หญิง โดยปกติแล้วมักไม่ใช้ เว้นแต่กรณีงานที่ระบุ White Tie หรือ Black Tie
How well did you know this?
1
Not at all
2
3
4
5
Perfectly
4
Q

การใช้ที่หนีบเนคไท

A

เมื่อสวมเสื้อนอกไม่ควรใช้ที่หนีบเนกไท จะใช้เมื่อไม่สวมเท่านั้นและอย่าหนีบตรงกับกระเป๋าเสื้อ ให้หนีบในระดับ 1 ใน 3 วัดจากด้านล่าง ส่วนเข็มกลัดให้ติด 1 ใน 3 วัดจากด้านบน

How well did you know this?
1
Not at all
2
3
4
5
Perfectly
5
Q

ว่าด้วยเรื่องสูท

A
  1. เสื้อนอกอกเดี่ยว กระเป๋าเฉียง: อังกฤษ
  2. กระเป๋าตรง: อเมริกัน
  3. กระดุมสองแถว หน้าหนาวกระเป๋าเสื้อเป็นแบบแปะ หน้าร้อนใช้กระเป๋าแบบเจาะ: ยุโรปควรใส่เฉพาะสีดำ น้ำเงินเข้มและเทาเข้ม
    - การแต่งสูท ( งานพิธีการมักใช้ Suit สีเข้ม - Dark Grey, Blue etc. )
    - เลือกผ้าให้ถูกกับฤดูกาล ผ้า Wool สำหรับหน้าหนาว ผ้าบางๆ สำหรับหน้าร้อน/เสื้อเชิ้ตเลือกให้เข้ากับชุดสากล เรียบๆ ไม่ลายพร้อย
    - ไม่ควรนำเสื้อสูทหนึ่งไปใส่กับกางเกงของอีกสูทหนึ่งเป็นอันขาด
    - ไม่ควรเหน็บปากกาที่กระเป๋าเสื้อนอก หรือโผล่ให้เห็น
    - ชุดสากลสีเข้ม เหมาะสำหรับไปร่วมงานที่มีเกียรติ
How well did you know this?
1
Not at all
2
3
4
5
Perfectly
6
Q

เสื้อใน

A
  • ใช้สีขาวเป็นหลัก ไม่เช่นนั้นก็ใส่สีเทาอ่อน เทาเข้ม ชมพูอ่อน เขียวมะกอก ฟ้าหรือขาวลายเส้น
  • ควรใส่เสื้อสีเรียบๆ เข้ากับสีเสื้อนอก อย่าใช้สีจัดหรือลวดลายฉูดฉาด
  • คอเสื้อต้องไม่หลวมไป และไม่คับจนน่าเกลียด คอเสื้อควรพอดีกับผู้ใส่
  • ปกเสื้อเชิ้ตต้องเรียบสะอาดเป็นพิเศษ
  • เสื้อเชิ้ตควรมีขนาดสุภาพ ไม่ใช่เล็กมากหรือโตจนผิดปกติ
  • เสื้อเชิ้ตต้องสะอาด โดยเฉพาะคอเสื้อ, ปก และส่วนหน้าอกซึ่งเป็นส่วนที่โชว์ ต้องรีดเรียบเป็นพิเศษ
  • ไม่ควรสวมเสื้อเชิ้ตปกเล็ก ( วัยรุ่น )
How well did you know this?
1
Not at all
2
3
4
5
Perfectly
7
Q

ถุงเท้า/รองเท้า/เข็มขัด

A

ถุงเท้าควรสีเข้มคู่กับสูท รองเท้าหุ้มส้นสีดำหรือเทาเข้ม ไม่ควรใช้รองเท้าขาวและติดโลหะ สีรองเท้าเป็นสีเดียวกับเข็มขัด

How well did you know this?
1
Not at all
2
3
4
5
Perfectly
8
Q

นาฬิกา/ปากกา

A

ใช้นาฬิกาแบบมีเข็มเท่านั้นและอย่าใช้ปากกาถูกๆ เหน็บกระเป๋า

How well did you know this?
1
Not at all
2
3
4
5
Perfectly
9
Q

มารยาทในการร่วมงานเลี้ยงที่ดีที่สุดคือ

A

หมั่นสังเกตคนอื่นรอบๆ ตัว และคอยสังเกตว่าตัวเราทำอะไรผิดแผกแตกต่างจากคนอื่นหรือเปล่า

How well did you know this?
1
Not at all
2
3
4
5
Perfectly
10
Q

มารยาทเกี่ยวกับสุภาพสตรี

A
  • ต้องถอดหมวก ถุงมือ ผ้าพันคอ เวลาเข้าไปอาคาร หรือเวลาทักทายกับสุภาพสตรี
  • การเข้าออกประตู หรือเข้า Lift และการขึ้น - ลงรถ ควรให้สุภาพสตรีเข้าออกก่อน และควรถอดหมวก
  • กระเป๋า Handbag หรือกระเป๋าถือที่สะพายไหล่เมื่อพบผู้ใหญ่หรือผู้ที่ควรให้เกียรติจะต้องลดลงมาในระดับถือ
  • ควรช่วยสุภาพสตรีใส่และถอด Coat เสมอ
  • Full Dress ของสุภาพสตรีสำหรับในงานพิธีสำคัญๆ มักใส่หมวก ถุงมือ และรองเท้าหุ้มส้น ถุงเท้า ใยบัว (เว้นชุดไทยพระราชนิยม)
How well did you know this?
1
Not at all
2
3
4
5
Perfectly
15
Q

ลำดับความสำคัญของทูตอยู่ต่อจาก

A

คณะองคมนตรีและคณะรัฐมนตรี

How well did you know this?
1
Not at all
2
3
4
5
Perfectly
16
Q

คณะทูต ตปท. ที่อยู่ในไทย

A

-สถานเอกอัคราชทูต -สถานกงสุลต่างประเทศประจำประเทศไทย -สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ -องค์การระหว่างประเทศของ UN -องค์การระหว่างประเทศอื่น

How well did you know this?
1
Not at all
2
3
4
5
Perfectly
17
Q

ลำดับอาวุโสทูตตามประชุมคองเครสแห่งเวียนนาเมื่อ 1815

A

เรียงอาวุโสมากไปน้อยตามวันที่ผู้แทนทางการทูตที่ยื่นสารตราตั้งก่อนไปหลัง หากไม่ลงรอย ประเทศผู้รับตัดสิน

How well did you know this?
1
Not at all
2
3
4
5
Perfectly
18
Q

อาวุโสของคณะทูต

A

๑. เอกอัคราชทูต ๒. อุปทูต ๓. ผู้แทนจากสถานเอกอัคราชทูต ๔. กงสุลใหญ่อาชีพ ๕. กงสุลอาชีพ ๖. กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ๗. กงสุลกิตติมศักดิ์ ๘. องค์การระหว่างประเทศของ UN เรียงตามลำดับอักษรชื่อหน่วยงาน ๙. องค์การระหว่างประเทศอื่น เรียงตามลำดับอักษรชื่อหน่วยงาน

How well did you know this?
1
Not at all
2
3
4
5
Perfectly
19
Q

การเชิญทูตใช้

A

บัตรเชิญ หรือ หนังสือเชิญ

How well did you know this?
1
Not at all
2
3
4
5
Perfectly
20
Q

สิ่งที่ควรแนบในบัตรเชิญทูต

A

ใบตอบรับ, กำหนดการ, อื่นๆ เช่น บัตรจอดรถ, บัตรเข้างาน, แผนผัง

How well did you know this?
1
Not at all
2
3
4
5
Perfectly
21
Q

เวลาในการเชิญทูตควรเชิญก่อนอย่างน้อย

A

๒ สัปดาห์

How well did you know this?
1
Not at all
2
3
4
5
Perfectly
22
Q

พิธีการทูต คือ

A

ระเบียบแบบอย่าง หรือขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นพิธีการทางความประพฤติ มิใช่กฏหมาย ระบุถึง การให้เกียรติ การต้อนรับ การสนทนา การแต่งกาย การพูดจาทักทาย ตลอดจนการเลี้ยงรับรอง

How well did you know this?
1
Not at all
2
3
4
5
Perfectly
23
Q

วันที่เอกอัคราชทูตเข้ารับหน้าที่ก่อนหลังดูได้จาก

A

หนังสือ Diplomatic and Consular List ของ กต.

How well did you know this?
1
Not at all
2
3
4
5
Perfectly
24
Q

การจัดประชุมระหว่างประเทศ คณะผู้แทนนั่งเรียงตาม

A

คณะผู้แทนนั่งเรียงตามตัวอักษรของประเทศ

How well did you know this?
1
Not at all
2
3
4
5
Perfectly
25
Q

การจัดที่นั่งงานเลี้ยงรับรอง

A

แขกเกียรติยศนั่งที่สำคัญเห็นทัศนียภาพสวยงาม / นั่งตรงข้ามเจ้าภาพ อาวุโสรองนั่งขวา,ซ้ายตามลำดับ อาวุโสถัดไปของไทยนั่งขวา,ซ้ายของแขกเกียรติยศ อาวุโสหญิงตามสามี สลับเพศ คู่สมรสต้องไม่นั่งตรงข้าม สตรีไม่นั่งปิดหัวโต๊ะ อาวุโสเท่าให้เกียรติต่างประเทศหรือหญิง ผู้มีภารกิจคล้ายกันนั่งใกล้กัน

How well did you know this?
1
Not at all
2
3
4
5
Perfectly
26
Q

การจัดธงชาติเล็ก

A

ตั้งตามตัวบุคคลเจ้าของประเทศ

How well did you know this?
1
Not at all
2
3
4
5
Perfectly
27
Q

การนั่งรถมีพลขับ

A

4 . D 1 3 2 หรือ 3 . D 1 . 2

How well did you know this?
1
Not at all
2
3
4
5
Perfectly
28
Q

การนั่งรถกรณีคนขับอาวุโส

A

อาวุโสสูงนั่งคู่คนขับ หญิงนั่งคู่คนขับ

How well did you know this?
1
Not at all
2
3
4
5
Perfectly
29
Q

แขนทุกข์ติดด้าน

A

ซ้าย

How well did you know this?
1
Not at all
2
3
4
5
Perfectly
30
Q

การแต่งกายสีเข้มคือ

A

สีกลุ่มเย็น ได้แก่ ดำ กรมท่า น้ำเงินเข้ม เทา

How well did you know this?
1
Not at all
2
3
4
5
Perfectly
31
Q

การแต่งกายสีอ่อนคือ

A

ผ้าสีเข้มในกลุ่มสีร้อน ที่มีแดง/เหลือง เป็นส่วนผสม เช่น น้ำตาล ม่วง เขียว ไม่ว่าจะเข้มเพียงใด ก็ไม่ถือว่าเป็นสีเข้ม

How well did you know this?
1
Not at all
2
3
4
5
Perfectly
32
Q

ชุดลำลอง (Casual)เหมาะสำหรับ

A

แต่งตัวแบบตามสบายสำหรับงานที่เป็นกันเอง สนิท

How well did you know this?
1
Not at all
2
3
4
5
Perfectly
33
Q

ชุดสุภาพ (Smart Casual)

A

ใช้กับงานที่ไม่เป็นทางการนัก

How well did you know this?
1
Not at all
2
3
4
5
Perfectly
34
Q

ชุดสากลกลางวัน (Lounge Suit) เป็นอย่างไร

A

ชุดสากลสีอ่อน

How well did you know this?
1
Not at all
2
3
4
5
Perfectly
35
Q

ชุดสากลกลางคืน (Dark Suit) เป็นอย่างไร

A

ชุดสากลสีเข้ม

How well did you know this?
1
Not at all
2
3
4
5
Perfectly
36
Q

Black Tie ใช้งานอย่างไร

A

กึ่งพิธีการ งานที่ไม่มีพิธีการมากนัก

37
Q

Morning Coat เป็นอย่างไร

A

ชุดพิธีการกลางวัน

38
Q

Evening Dress / White Tie เป็นอย่างไร

A

ชุดพิธีการกลางคืน

39
Q

วัตถุประสงค์งานเลี้ยงทูต

A

แสดงไมตรี, แลกเปลี่ยนความคิด, เผยความในใจ, หาข่าวจากพันธมิตรและฝ่ายตรงข้าม

40
Q

งานเลี้ยงรับรองทั่วไป Reception เรียกตามเครื่องดื่มที่เสริฟ์ว่า

A

งานเลี้ยง Cocktail

41
Q

งานเลี้ยงรับรองทั่วไปส่วนใหญ่จัด 1800-2000 หากจัดกลางวันเรียกว่า

A

Vin d’honneur

42
Q

Luncheon คืองานเลี้ยงใด

A

งานเลี้ยงอาหารกลางวัน เป็นทางการมากกว่า reception แต่น้อยกว่า dinner แต่งกายชุดสากลสีอ่อน

43
Q

ขั้นตอนเตรียมงานเลี้ยง

A

๑. เจ้าภาพงาน ๒. กำหนดประเภทงาน/สถานที่ ๓. รายชื่อแขกที่จะเชิญ ๔. บัตรเชิญ/บัตรวางโต๊ะ ๕. รายการอาหาร ๖. ผังที่นั่ง ๗. การจัดโต๊ะอาหาร

44
Q

การเลี้ยงอาหารค่ำแบบไหนถือว่าให้เกียรติและแสดงอัธยาศัยที่น่าพึงพอใจมากสุด

A

แบบนั่งโต๊ะ (Seating Dinner)

45
Q

การไปถึงงานเลี้ยงอาหารค่ำแขกจะต้องไปถึงงานอย่างน้อย

A

30 นาทีก่อนเริ่ม เช่น ระบุ 20.00 น. ให้ไป 19.30 น. หรือ ระบุ 20.00 - 21.00 ให้ไป 20.00 (เพราะเขาระบุเวลาเข้างานให้แล้ว)

46
Q

ถ้ามีผู้ร่วมโต๊ะเท่าไหร่ควรให้เจ้าภาพนั่งกลางโต๊ะแทนที่จะเป็นหัวโต๊ะ

A

6 คนขึ้นไป

47
Q

ถ้าหากเชิญทางโทรศัพท์ควรทำอย่างไรหลังเชิญ

A

ส่งบัตร “To Remind” ตามไป

48
Q

เวลาการส่งการ์ดเชิญล่วงหน้าควรเป็นเท่าไร

A

ล่วงหน้า 3 สัปดาห์ และอย่างช้าไม่น้อยกว่า 10 วัน

49
Q

“Regrets Only” หมายความว่าอย่างไร

A

บัตรเชิญแบบ หากรับเชิญไม่ได้จึงจะตอบข้อขัดข้องไปให้เจ้าภาพทราบ

50
Q

p.r. แปลว่า

A

pour remercier เพื่อขอบคุณ

51
Q

p.f. แปลว่า

A

pour fete (feliciter)เพื่ออวยพรหรือแสดงความยินดี

52
Q

p.f.c. แปลว่า

A

pour faire connasissence เพื่อแสดงความรู้จัก

53
Q

p.f.n.a. แปลว่า

A

pour fete du nouvel an เพื่ออวยพรปีใหม่

54
Q

p.p.c. แปลว่า

A

pour prendre conge เพื่อลา

55
Q

p.c. แปลว่า

A

pour condoleance เพื่อแสดงความเสียใจ

56
Q

p.p. แปลว่า

A

pour presentation เพื่อแนะนำตนเอง

57
Q

Repondez s’il vous plait แปลว่า

A

R.S.V.P. กรุณาโปรดตอบ

58
Q

บัตรเชิญแบบพิมพ์จะต้อง

A

เขียนชื่อผู้ได้รับเชิญด้วยลายมือเสมอ

59
Q

ใครเข้าห้องทานอาหารคนแรกและคนสุดท้ายของงาน

A

เจ้าภาพหญิงเข้าคนแรก เจ้าภาพชายเข้าคนสุดท้าย

60
Q

ใครเป็นคนเลื่อนเก้าอี้ให้สุภาพสตรีนั่งในโต๊ะอาหาร

A

แขกผู้ชายด้านซ้ายเลื่อนให้สุภาพสตรีด้านขวาตน

61
Q

ตำแหน่งที่เจ้าภาพหญิงควรอยู่ในห้องอาหารหลังเดินเข้าไปแล้ว

A

หน้าประตูแล้วคอยแจ้งที่นั่งแขก หรือ ยืนหลังที่นั่งตนแล้วบอกตำแหน่งที่นั่งของแขก

62
Q

อาหารควรมีอย่างน้อย 3 อย่าง คือ

A

1.จานแรก (Appetizer) 2.จานหลัก (Main Dish) 3.ของหวาน-ผลไม้ (Sweet - Fruit) กาแฟหรือชา (Coffee or Tea)

63
Q

หลักการจัดอาหาร

A
  1. สมดุล โภชนาการ/รสชาติ 2. คำนึงรสนิยมและความจำเป็นของแขก 3. หากเป็นงานพิธีการของรัฐ นิยมพิมพ์รายการอาหารเป็นภาษาฝรั่งเศส
64
Q

ควรใช้เครื่องดื่มอะไรแทนแชมเปญ เมื่อไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

A

เซเว่น-อัพ หรือ สไปรต์

65
Q

การจัดจาน

A

1.ส้อมต้องวางหงายซ้าย ถัดมาเป็นจานขนมปังและมีดบนจานหันคมมีดออกจากตัว 2.มีด ช้อน วางขวาเสมอ คมมีดออกนอกตัว 3.มีด ส้อม ช้อน จะต้องหยิบจากชุดที่อยู่ด้านนอกสุดเข้ามาสู่ชุดที่อยู่ด้านในสุดตามลำดับรายการอาหาร 4.ช้อมและส้อมของหวานวางด้านบน 5.แก้ววางไว้ปลายมีอาหารจานหลัก 6.ผ้าเช็ดปากวางไว้บนจาน 7.เปลวเทียนในเชิงเทียนต้องสูงกว่าระดับสายตา

66
Q

หัวข้อเรื่องไม่น่าสนทนาในวงอาหาร

A

1.คนรับใช้ 2.ความป่วยไข้ 3.ศาสนา 4.การเมือง

67
Q

การปฏิเสธเครื่องดื่ม

A

ใช้นิ้วแตะปากแก้วเมือบริกรริน กล่าวปฏิเสธสุภาพพร้อมขอบคุณเมื่อเจ้าภาพริน

68
Q

การแนะนำตน

A

1.แนะนำชายแก่หญิง 2.เพศเดียวกันต้องแนะนำผู้น้อยให้ผู้ใหญ่ 3.ขออนุญาติหญิงก่อนที่จะแนะนำชายให้หญิงรู้จัก 4.หญิงต้องไม่ยื่นมือให้จับ นอกจากเจ้าภาพ 5.ควรแนะนำพร้อมบอกคุณสมบัติพิเศษที่ทั้งสองฝ่ายอาจถูกใจกัน 6.การได้รับเชิญไปบ้านหนึ่งพร้อมกัน แม้ไม่ได้รับการแนะนำก็ถือว่าทำความรู้จักกันได้โดยตนเอง 7.ในงานที่มีการเต้นรำ เจ้าบ้านหญิงสามารถแนะนำชายหญิงให้รู้จักกันได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตหญิงก่อน 8.งานเล็กเรียกชื่อ แต่งานพิธีแนะนำด้วยชื่อสกุล 9.ถ้าไปในงานแล้วประกาศแนะนำชื่อผิด หรือไม่ได้ยิน ท่านสามารถแจ้งเจ้าภาพหญิงทราบและแก้ไขให้เรียบร้อยโดยแนะนำตนเองโดยชื่อตัว ใช้ฐานันดรน้อยสุด 10.มุสลิมถือว่ามือข้างซ้ายสกปรก พยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสมือซ้าย 11.การชี้นิ้วไม่สุภาพในบรูไน 12.นั่งไขว่หน้าไม่สุภาพ 13.นามบัตรไม่ควรย่อ มอบด้วยมือขวาหรือ2มือ

69
Q

การรับรองแขกระดับกระทรวง

A

1.ผู้แทนเหมาะสมไปรับส่งสนามบิน 2.จัดห้องรับรองพิเศษ 3.จัดรถยนต์รับรอง 4.จัดการหารือหรือข้อราชการ 5.จัดการลงนามความตกลง (หากมี) 6.จัดการแถลงข่าวร่วมกัน (หากมี) 7.จัดงานเลี้ยงรับรองเป็นเกียรติ

70
Q

การประดับธงชาติคู่หรือร่วมกับธงของต่างประเทศ

A
  1. การประดับธงชาติคู่หรือร่วมกับธงของต่างประเทศ จะต้องเป็นไปในลักษณะที่เท่าเทียมกัน เช่น ขนาดและสีของธง และความสูงต่ำของธง เป็นต้น 2. ถ้าประดับหรือชักธงของต่างประเทศประเทศเดียว ต้องให้ธงชาติอยู่ด้านขวาของธงต่างประเทศ 3. ถ้าประดับธงของต่างประเทศเกินกว่าหนึ่งประเทศ เมื่อรวมกับธงชาติแล้วเป็นจำนวนคี่ ให้ธงชาติอยู่ตรงกลาง 4. ถ้าประดับธงของต่างประเทศเกินกว่าหนึ่งประเทศ เมื่อรวมกับธงชาติแล้วเป็นจำนวนคู่ ให้ธงชาติอยู่กลางด้านขวา 5. การประดับธงชาติในสถานที่ หรือมีข้อตกลงระหว่างประเทศ หรือประเทศภาคีกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น เช่น ให้ใช้เรียงตามลำดับอักษร หรือเรียงตามลำดับการเป็นสมาชิก ก็ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงนั้น 6. การประดับธงชาติในการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศ โดยปกติให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของสมาคมกีฬาระหว่างประเทศ หรือตามหลักสากลที่ยอมรับกันในนานาอารยประเทศ 7. การประดับธงชาติคู่กับธงของต่างประเทศสำหรับรถยนต์ ให้ปักธงชาติไว้ทางด้านขวา และธงของต่างประเทศไว้ทางด้านซ้าย 8. ยานพาหนะอื่นให้ใช้ทำนองเดียวกับข้อ 7. เว้นแต่การประดับบนเรือให้เป็นไปตามธรรมเนียมประเพณีของชาวเรือ
71
Q

มารยาทในห้องนั่งเล่น/ห้องรับแขก

A
  • ควรแต่งกายให้สุภาพตลอดเวลา เนื่องจากอาจมีคนมาเยี่ยม
  • อย่าถอดรองเท้าในขณะที่มีแขก
  • ไม่ควรถอดเสื้อนอกเมื่อมีแขก
  • ควรสวม Dressing Gown แทนเสื้อนอกหรือทับเสื้อชุดนอนในโอกาสที่ต้องรีบด่วน ไม่มีเวลาเปลี่ยนเสื้อ
  • ไม่ควรใส่ชุดนอนมานั่งในห้องนั่งเล่น , ห้องรับแขก , ห้องอาหาร หรือเดินนอกบ้าน
  • ไม่ควรใส่ Slipper ออกมาเดินนอกบ้าน
  • ผู้หญิง หรือผู้ใหญ่มา ควรมีการต้อนรับโดยการยืน
  • ไม่ควรสูบบุหรี่ก่อนได้รับความเห็นชอบ หรือการเชื้อเชิญจากเจ้าของบ้านหากสังเกตว่าใน/บ้านไม่มีที่เขี่ยบุหรี่ แสดงว่าเจ้าของบ้านไม่ต้องการให้สูบบุหรี่
  • อย่าจับต้องหรือขยับเขยื้อนของประดับในบ้าน เช่น หยิบดูรูปภาพ จับตุ๊กตา ฯลฯ
  • อย่าเอามือไปจับต้องโต๊ะ หรือเครื่องเงินจนเป็นรอยมือ
  • อย่าเปิดโทรทัศน์หรือวิทยุเสียงดัง
  • เมื่อเข้าในบ้านหรืออาคารต้องถอดหมวก, Overcoat, ถุงมือ, ผ้าพันคอ
  • อย่านั่งเขย่า หรือสั่นขา หรือเคาะนิ้ว/อย่าเกาศีรษะ เสยผมมากจนเสียบุคลิก
  • เข้าสโมสรนายทหาร (Mess) ต้องถอดหมวก, Overcoat ถุงมือ
72
Q

มารยาทในห้องนอน

A
  • ปิดม่านห้องนอนก่อนแล้วจึงปิดไฟ ควรปิดม่านหน้าต่างของห้องทุกครั้งที่อยู่ในห้องนอน ไม่ว่าเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน เพราะคนภายนอกจะมองเห็น
  • ประหยัดไฟฟ้าโดยการดับเครื่องใช้ไฟฟ้า เมื่อไม่อยู่ในห้องหรือหมดความจำเป็น
  • อย่าเปิดวิทยุ โทรทัศน์ จนเสียงดังรบกวนห้องข้างเคียง
  • ไม่แต่งชุดนอนออกจากห้องนอน โดยเฉพาะในโรงแรม และที่พักสาธารณะ
  • ไม่สูบบุหรี่ บนเตียงโดยเด็ดขาด
  • ไม่คุยกันเสียงดังหรือร้องเพลงเสียงดังอันเป็นการรบกวนห้องข้างเคียง
  • ไม่สูบบุหรี่มากจนเกินไปจะมีกลิ่นรบกวนไปทั่วไม่เปิดหรือปิดประตูเสียงดัง บริเวณ และไม่สูบบุหรี่ในห้องที่กำหนดเป็น Non - smoking Room หรือ Non - smoking Floor เป็นอันขาด
  • ควรใส่ Dressing Gown เวลาออกจากห้องนอน
  • ต้องปิดประตูทุกครั้งที่เข้า หรือออกจากห้องนอน
  • ไม่ควรเดินเสียงดังในห้องนอน เพราะจะเป็นการรบกวนคนที่อยู่ในห้องชั้นล่าง
  • ไม่ควรนุ่งผ้าเช็ดตัวออกมาเดินนอกห้องนอน ( พบเห็นบ่อยๆ )
73
Q

มารยาทในห้องน้ำ

A
  • ต้องใส่กลอนประตูเมื่อเข้าห้องน้ำทุกครั้ง ( บางคนชอบเพียงปิดงับเมื่อปัสสาวะ )
  • ชักโครกทุกครั้งที่ปัสสาวะ, ทิ้งกระดาษ
  • การใช้ส้วมชักโครกปัสสาวะ สุภาพบุรุษต้องยกไม้รองหรือพลาสติกรองนั่งขึ้นเสียก่อนแล้วจึงปัสสาวะ
  • ไม่ทำให้ที่นั่งส้วมสกปรกหรือเปียกน้ำ
  • เมื่อใช้อ่างล้างหน้าแล้ว ต้องทำความสะอาด และเช็ดให้แห้ง
  • เมื่อใช้อ่างอาบน้ำแล้ว ต้องรักษาความสะอาด และเช็ดให้แห้งเสมอ
  • ถ้าเป็นอ่างที่ใช้รวมกันต้องเช็ดให้แห้ง
  • ห้ามสูบบุหรี่ในห้องน้ำหรือห้องส้วม
  • ถ้าเป็นห้องน้ำรวม ต้องไม่ใช้นานเกินควร/ต้องทำความสะอาดเมื่อใช้ห้องน้ำแล้ว
  • ทุกครั้งที่ล้างหน้าตอนเช้า ต้องโกนหนวด โกนเคราทุกวัน
  • การใช้ฝักบัว : ต้องรูดม่านให้ชายม่านอยู่ในอ่าง/ทำความสะอาดก่อนออก/
  • เช็ดเท้าให้แห้ง โดยปกติผ้าเช็ดเท้ามักจะวางที่ขอบอ่าง/อย่าตักน้ำมาอาบนอกอ่าง
  • ห้ามนุ่งผ้าเช็ดตัวออกมาเดินนอกห้อง
  • ห้ามถอดเสื้อออก เช่น นุ่งกางเกงชั้นในหรือนุ่งผ้าเช็ดตัวมาเดินใน Corridor
  • ห้ามล้างเท้าในอ่างล้างหน้า
  • ต้องชักโครกทุกครั้งที่ใช้
74
Q

มารยาทในสนาม สวน บริเวณ/สำนักงาน

A

-รักษาบริเวณให้เรียบร้อย อย่าปล่อยให้หญ้าขึ้นรกรุงรัง
ภเก็บใบไม้ให้เรียบร้อย
-ไม่ทิ้งก้นบุหรี่ลงบนสนามหญ้า
-ไม่ควรมีขยะหรือเศษกระดาษ ถุงพลาสติก ทิ้งอยู่ในบริเวณบ้าน
-ต้องเก็บกวาดใบไม้และ/หรือ หิมะ เกล็ดน้ำแข็ง บริเวณทางเท้าหน้าบ้านหรือหน้าสำนักงานให้สะอาด เรียบร้อยเสมอ ในบางประเทศหากมีผู้ลื่นล้มหน้าบ้านหรือสำนักงานถือว่าเป็นความรับผิดชอบของเจ้าของบ้านหรือสำนักงานนั้นแม้ว่าจะอยู่นอกเขตก็ตาม

75
Q

มารยาทในสำนักงาน

A
  • แต่งกายให้เรียบร้อยเสมอ
  • เครื่องเงิน เครื่องโลหะ หรือเครื่องกระจก จะต้องเช็ดถูให้สะอาด ไม่มีรอยมือติด
  • จัดระเบียบสำนักงานให้เรียบร้อยสะอาดสะอ้าน
  • พื้นปูพรมจะต้องดูดฝุ่นให้สะอาดเสมอ

ห้องรับรอง – รับแขก

  • จัดให้เรียบร้อยพร้อมรับแขกเสมอ/ไม่ทิ้งของเกะกะ เช่น รองเท้าแตะ เสื้อผ้า ฯลฯ
  • ที่เขี่ยบุหรี่สะอาดและต้องเทขี้บุหรี่และทำความสะอาดตลอด
  • เวลา -ถ้าไม่ประสงค์ให้มีการสูบบุหรี่ ก็ไม่ต้องวางไว้
  • การเสิร์ฟชา – กาแฟ มีจานรองถ้วยแก้ว มีช้อน และที่ใส่น้ำตาล นม แยกต่างหาก
  • แก้วน้ำควรมีที่รองแก้วน้ำ ควรเสิร์ฟจากถาด อย่าถือมาเป็นถ้วยๆ

ห้องน้ำ

  • ต้องไม่มีคราบ หรือตะกอนสกปรกในอ่างล้างหน้า, ที่ปัสสาวะ, อ่างอาบน้ำ, ชักโครก
  • รักษาความสะอาดเสมอ และควรเช็ดให้แห้งตลอดเวลาหรือหลังจากที่ใช้งานแล้ว
  • มีของใช้จำเป็นพร้อม เช่น สบู่ ผ้าเช็ดมือ กระดาษชำระ ยาดับกลิ่น หรือ Air Refresher

บริเวณสำนักงาน
-รักษาบริเวณให้สะอาดเรียบร้อย อย่าให้หญ้าขึ้นรกรุงรัง/ไม่ควรทิ้งบุหรี่บนสนาม กวาดเก็บใบไม้เสมอ/ถ้าเป็นพื้นพรมต้องดูดฝุ่นหรือเศษผงให้สะอาดเรียบร้อยตลอดเวลา/ถ้ามีโลหะ เช่น ลูกบิดประตู/ราวบันได ควรเช็ดถูให้สะอาด

76
Q

มารยาทในการแต่งกาย

A
  • ไม่ควรแต่งชุดสากลไปในงานทหาร เช่น งาน Reception วันกองทัพต่างๆ ควรแต่งเครื่องแบบ
  • ไม่ควรใส่กางเกงยีนส์ไปนอกบ้านเพื่อไปในงานพิธี หรืองานสำคัญ ( กางเกงยีนส์ใส่เฉพาะงานแบบกันเองหรือในบ้าน ) ร้านอาหาร/ภัตตาคาร บางแห่งอาจไม่อนุญาตให้สวมกางเกงยีนส์เข้าไป
77
Q

ว่าด้วยเรื่องรองเท้า

A
  • ขัดรองเท้าให้มันเงาเสมอ
  • รองเท้าดำ มักใส่ประกอบกับผ้าสีดำ น้ำเงิน สีเทา ฯลฯ ( อย่าเอา-รองเท้าสีอ่อนมาใส่ประกอบ Suit)/รองเท้าสีน้ำตาลมักใส่ประกอบกับผ้าสีน้ำตาล สีเนื้อ
  • ไม่ควรใส่ถุงเท้าสีฉูดฉาด และต้องเข้ากับสีของสูท และรองเท้าเสมอ
  • ถ้าเป็นรองเท้าชนิดด้าน หรือหนังกลับ ควรให้สะอาด
  • ไม่ควรใส่รองเท้าสีขาว, สีนวล กับ Suit ซึ่งมักถือว่าไม่สุภาพ นอกเสียจากในโอกาสที่มีงานเลี้ยงบนเรือ หรืองานเลี้ยงที่ไม่ใส่เสื้อนอกที่เป็นงานกันเองจริงๆ
  • ไม่ควรนำรองเท้าสำหรับเครื่องแบบมาสวมใส่เวลาแต่งชุดสากล หรือชุดพลเรือน
78
Q

ว่าด้วยเรื่องความสะอาด

A
  • เล็บมือ ควรตัดให้สั้นและสะอาดเสมอ
  • รักษาผมให้เรียบร้อย
  • โกนหนวดเคราทุกวัน หากไปงานกลางคืน ควรโกนอีกครั้งก่อนไปงาน
  • เสื้อผ้าที่ใส่ควรสะอาดเรียบร้อย ไม่ยับยู่ยี่ และไม่เก่าจนเกินไป
  • อย่าให้มีรังแคตกอยู่บนเสื้อผ้าที่ใส่
  • Suit ควรรีดให้เรียบเสมอ อย่าให้ซ้ำซาก โดยไม่รีด ( Suit ที่สวยควรส่งซักเสียบ้างอย่าเอาแต่รีดทับ )
79
Q

มารยาทในการปฏิบัติตนในสังคม

A
  • หากต้องจับมือกับสุภาพสตรี ควรถอดหมวกและถุงมือก่อน
  • ก่อนเข้าประตู ควรเคาะประตูก่อน และปิดประตูหลังเข้าไปแล้ว
  • การเข้าออกประตู หรือเข้า Lift และการขึ้น - ลงรถ ควรให้สุภาพสตรีเข้าออกก่อน และควรถอดหมวก เพื่อให้เกียรติ
  • อย่าคาบบุหรี่เวลาคุย หรือสูบบุหรี่/ ในเวลาสถานที่ที่ไม่สมควรหรือเดินถือบุหรี่ไปมาและเมื่อได้จุดบุหรี่แล้ว เมื่อจะทิ้งต้องดับให้สนิทและทิ้งในที่เขี่ยบุหรี่เสมอ ห้ามทิ้งลงบนพื้นเด็ดขาด
  • ผู้หญิงกับผู้หญิง หรือ ผู้ชายกับผู้ชาย อย่าเดินหรือยืนกอดเอวหรือคล้องแขนกันหรือจูงมือกัน ซึ่งในทัศนะของตะวันตกถือว่าเป็นการกระทำเยี่ยงพวกลักเพศ
  • ไม่ควรลูบขาหรือลูบตัวของเพื่อนที่เป็นเพศเดียวกัน
  • ต้องถอดหมวก ถุงมือ ผ้าพันคอ เวลาเข้าไปในอาคาร หรือเวลาทักทายกับสุภาพสตรี
  • กระเป๋า Handbag หรือกระเป๋าถือที่สะพายไหล่เมื่อพบผู้ใหญ่หรือผู้ที่ควรให้เกียรติจะต้องลดลงมาในระดับถือ
  • ควรช่วยสุภาพสตรีใส่และถอด Coat เสมอ
  • เมื่อเปิดของขวัญต่อหน้าผู้ใหญ่ควรระมัดระวัง อย่าฉีกกระดาษห่อ ควรค่อยๆ แกะอย่างปราณีต
  • ไม่ควรใส่หรือใช้เสื้อเชิ้ต เน็คไท และโบว์ สีดำหรือสีเข้มในงานมงคล เช่น งานสมรสหรืองานวันเกิด
  • Full Dress ของสุภาพสตรีสำหรับในงานพิธีสำคัญๆ มักใส่หมวก ถุงมือ และรองเท้าหุ้มส้น ถุงเท้า ใยบัว (เว้นชุดไทยพระราชนิยม)
  • การจะไปพบใคร ควรโทรไปนัดหรือมีหนังสือนัดล่วงหน้าและไม่ควรไปพบใครที่บ้านโดยไม่นัดล่วงหน้าเป็นอันขาด
  • จะเยี่ยมใครในโรงแรมควรโทรขึ้นไปหาอย่าตรงไปยังห้องพัก ไม่ควรเดินไปเคาะประตูที่ห้องพัก
  • จะต้องกล่าวขอบคุณทุกครั้งที่ผู้อื่นช่วยเหลือทำงานให้ เช่น ส่งของให้ รับอาสาทำงานแทนให้
  • จะต้องกล่าวขอโทษเสมอที่เห็นว่าได้กระทำสิ่งที่ไม่สมควรลงไปโดยไม่ตั้งใจ เช่น มาสายกว่าเวลานัด
  • อย่าถามเงินเดือน/รายรับของผู้อื่น เพราะถือว่ามารยาทไม่ดี
  • ไม่ควรถามอายุของแขก
  • หากได้นัดหมายใครไว้ และไม่สามารถไปได้หรืออาจไปช้ากว่ากำหนดเวลา ควรโทรศัพท์แจ้ง ( หรือหากรู้ล่วงหน้าควรมีหนังสือแจ้ง ) โดยเร็วที่สุด
  • การจะไปพบใครตามนัดหมายไม่ว่าที่บ้านหรือสำนักงานควรแจ้งด้วยว่ามีใครติดตามไปด้วย และสอบถามเจ้าบ้านหรือผู้ที่จะไปพบว่า ยินดีให้ไปพบด้วยหรือไม่ ในบางแห่งจะต้องแจ้งลักษณะ และทะเบียนรถ ด้วย หากมีของขวัญหรือของฝากควรแจ้งให้ผู้รับทราบล่วงหน้าเสมอ
  • เมื่อมีผู้มอบนามบัตรให้ควรมอบตอบเสมอ หรือกล่าวขออภัยแล้วส่งให้ในภายหลัง
80
Q

มารยาทในการดื่มถวายพระพร

A

-ไม่ดื่มถวายพระพรหรือดื่มให้ประมุขของประเทศในงานที่ไม่ใช่งานที่มีเกียรติสูงสุด อย่างไรก็ดี งานที่จัดขึ้นอย่างมีพิธีการ เป็นระเบียบเรียบร้อย และ/หรืองานซึ่งจัดขึ้นซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชินี ซึ่งในงานมีผู้แทนพระองค์หรือพระราชวงศ์ระดับสูง หรือองคมนตรีอยู่ในงานด้วย ก็อาจพิจารณาเชิญชวนดื่มถวายพระพรได้ แต่ทั้งนี้ สำนักพระราชวัง เคยชี้แจงว่าให้เป็นไปโดยควรแห่งพระเกียรติยศและเป็นการปฏิบัติด้วยความจงรักภักดี สุดแต่อัธยาศัยและสุดแต่โอกาส

81
Q

มารยาทบนโต๊ะอาหาร

A
  • อย่าเรอบนโต๊ะอาหารโดยเด็ดขาด
  • ไม่ควรผิวปาก หรือดีดนิ้ว เวลาเรียกพนักงานบริการอาหาร
  • ในการดื่มอวยพร หากเจ้าภาพดื่มให้ท่าน ไม่ควรลุกขึ้นมาร่วมดื่ม ควรนั่งเฉยๆ และก้มศีรษะขอบคุณเท่านั้น หรืออาจลุกขึ้นยืนเพื่อชนแก้วหรือยกแก้วให้กับผู้เชื้อเชิญ เพื่อแสดงไมตรีจิตและขอบคุณ แต่ต้องไม่ร่วมดื่มให้กับตัวเอง
  • เมื่อนั่งลงเรียบร้อยแล้ว ไม่ควรจับต้องเครื่องเงินเล่นหรือพลิกจานชามเพื่อดูยี่ห้อ
  • ท่านมีหน้าที่ดูแลคนที่นั่งด้านขวามือเป็นหลักทั้งในการบริการส่งต่อหรือในการสนทนา ตลอดระยะเวลาที่นั่งอยู่ในโต๊ะอาหาร แต่ก็ไม่ควรละเลยบุคคลด้านซ้าย
  • หากท่านต้องการเกลือ พริกไทย หรือของส่วนกลางบางอย่างที่วางอยู่บนโต๊ะแต่หยิบไม่ถึง ให้ใช้วิธี ขอให้ส่งผ่าน ไม่ควรใช้การเอื้อมหรือลุกขึ้นยืนหยิบ เมื่อท่านใช้เสร็จแล้วควรส่งต่อเวียนขวา ถ้าเป็นการส่งต่อ เกลือ พริกไทย ควรส่งต่อพร้อมกัน เครื่องเคียงทุกอย่างรวมถึงผักดองควรวางไว้ข้างจานและตักแบ่งใส่อาหาร ทีละคำ จะมีเฉพาะเนยแข็งบด พริกไทย เกลือ ที่จะโรยบนอาหารทั้งจานโดยตรง
  • พึงหลีกเลี่ยงการขออะไรที่ไม่ ได้เตรียมไว้บนโต๊ะเพราะเท่ากับเป็นการต่อว่าเจ้าภาพว่าเตรียมโต๊ะไม่พร้อม และถ้าเจ้าภาพไม่มี เจ้าภาพจะยิ่ง ไม่สบายใจ
  • อย่าใส่เครื่องปรุงอาหารก่อนชิม เพราะเป็นการดูถูกว่ารสอาหารที่ปรุงมาไม่พอดี ควรชิมอาหารเสีย ก่อนจึงค่อยเติมเครื่องปรุงอาหาร
  • อย่านำเครื่องปรุงส่วนตัว เช่น น้ำปลา พริกป่น ไปในงานเลี้ยงรับประทานอาหาร
  • การรับประทานอาหารให้หมดจานเป็นการแสดงออกถึงความอร่อยของอาหาร และเป็นการ ให้เกียรติแก่เจ้าภาพ ไม่ควรที่จะจงใจเหลืออาหารไว้ในจาน หรือตักมากเกินไปจนเหลือมากแสดงถึงความ ฟุ่มเฟือย ไม่มัธยัสถ์
  • ถ้ามีอาหารบางอย่างที่ท่านรับประทานไม่ได้ (เช่น เพราะแพ้อาหาร นั้น) ท่านควรแจ้งเจ้าภาพตั้งแต่ ตอนตอบรับคำเชิญ แต่หากทำไม่ได้ควรเลือกรับประทานอย่างอื่นในจาน และหลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้ หรือถ้าเป็นแบบเสิร์ฟ ท่านสามารถตักของที่แพ้เพียงแต่น้อย และตักอย่างอื่นเพิ่มขึ้นชดเชย การปฏิเสธ WINE ไม่ถือว่า เป็นการผิดมารยาทแต่ประการใด
  • ในระหว่างการรับประทานอาหาร หากสุภาพสตรีด้านขวามือลุกขึ้นจากโต๊ะด้วยเหตุผลใดก็ตาม จะต้องรีบลุกขึ้นและเลื่อนเก้าอี้ให้สุภาพสตรีผู้นั้น
  • หากท่านมีกิจธุระจำเป็นจะต้องลุกจากโต๊ะ ควรขอโทษเจ้าภาพ ก่อนลุกขึ้นไปทำธุระ การพักการรับประทานอาหารในกรณีเช่นนี้ ส้อมและมีดควรวางทำมุมกันประมาณ 100 องศา โดยคว่ำส้อมและหันคมมีดไปทางซ้าย
  • หากพักระหว่างรับประทานอาหารให้วางเครื่องเงินบนจานทำมุมกันประมาณ 100 องศา อย่าวางกับ ผ้าปูโต๊ะหรือรวบส้อมมีดซึ่งหมายถึงการอิ่มคอร์สนั้น
  • ไม่ควรคุยเสียงดังหรือคุยข้ามโต๊ะ โดยเฉพาะหัวโต๊ะและท้ายโต๊ะ ควรจะคุยระหว่างคนข้างเคียง
  • หลังจากได้รับบริการอาหารแล้ว อย่าส่งต่ออาหารให้ผู้อื่น เพราะการเสิร์ฟอาหารเป็นหน้าที่ของบริกร
  • การดื่มน้ำควรใช้ผ้าเช็ดปากซับปากเสียก่อนเพื่อป้องกันคราบอาหารติดที่ขอบแก้ว
  • อย่าแลกอาหารหรือแบ่งอาหารบางส่วนของตนให้ผู้อื่นแม้จะอยู่ในโต๊ะอาหารเดียวกัน - ไม่ควรใช้ไม้จิ้มฟันในโต๊ะอาหาร
  • ไม่เรียกเครื่องดื่มที่ตนชอบมารินอีกเมื่ออาหารและเครื่องดื่มชุดนั้นผ่านไปแล้ว
  • ไม่ดื่มน้ำจากชามล้างมือ ชามล้างมือนี้จะจัดไว้ให้ในกรณีที่มีอาหารซึ่งต้อง หรือนิยมรับประทานด้วยมือได้ จะสามารถสังเกตชามล้างมือได้ชัดเจนเพราะมักจะมีแว่นมะนาว
  • กิริยาอาการบางอย่างในการรับประทานอาหารเป็นสิ่งที่ไม่สุภาพ เช่น การพูดในระหว่างมีอาหาร เต็มปาก การทำเสียงในระหว่างเคี้ยวหรือกลืน การรับประทานอาหารคำใหญ่เกินไป หรือการเรอเสียงดัง
82
Q

มารยาทบนโต๊ะจีน

A
  • อย่าคายหรือทิ้งเศษอาหารบนโต๊ะหรือที่พื้น ให้ทิ้งแอบไว้ข้างจาน – ถ้วยหรือชามที่จัดมาเฉพาะ
  • อย่ากระแทกปลายตะเกียบบนโต๊ะจนมีเสียง
  • อย่าตัดอาหารจำพวกหมี่ในงานวันเกิด
  • อย่ากลับปลาทั้งตัวเมื่อทานด้านหนึ่งหมดแล้ว โดยเฉพาะเมื่อชาวเรือมาร่วมโต๊ะ
  • อย่าดูดตะเกียบ
  • อย่าใช้ช้อนกลาง (ช้อนที่มีด้ามจับยาว ปกติอาจวางไว้ข้างตะเกียบ) ในการรับประทานอาหาร หรือรับประทานซุป สำหรับช้อนซุปมักเป็นช้อนกระเบื้องเคลือบจะจัดวางแยกไว้ในที่วางช้อน ซุปหรือในถ้วย