SUM M.5 T.1 Flashcards
แผนที่โลกแผนที่แรก (เท่าที่พบและยอมรับในปัจจุบันเป็นวงกว้าง) ที่วาดขึ้นโดยมีคำอธิบายเป็นตัวอักษรประกอบคือแผนที่โลกของชาว, อักษร อะไร
บาบิโลน, คูนิฟอร์ม
แผนที่โลกของชาวกรีกเป็นแผนที่โลกฉบับแรกๆที่วาดโดยมีการเก็บข้อมูลอย่างไร
เป็นวิทยาศาสตร์
อีราโตสเตนีส ได้ชื่อว่าเป็น / เพราะเหตุใด
The First Geographer หรือบิดาแห่งวิชาภูมิศาสตร์ / เพราะเขาเป็นคนประดิษฐ์คำว่า Geography
อีราโตสเตนีสเป็นชาวกรีก แผนที่ของเขามีเอกลักษณ์คือ วาดขึ้นจากข้อมูลที่สืบเสาะและบันทึกไว้ วาดทวีปได้ทั้งหมด 3 ทวีป คือ
ยุโรป แอฟริกา และเอเชีย
แผนที่ของอีราโตสเตนีสมีการใช้อะไร
เส้นสมมติ เรียกว่าเส้นขนานและเส้นเมริเดียน
อีราโตสเตนีสมีผลงานที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ
การคิดคำนวณหาเส้นรอบวงของทรงกลมโลกได้สำเร็จเป็นคน
แรก (แม้จะคลาดเคลื่อนอยู่)
แผนที่ของปโตเลมี นักปรัชญาและนักเรขาคณิตชาวกรีกที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่ง วาดโลกในรูปแบบที่ละเอียดขึ้นมาจากของอีราโตสเตนีส และได้ใช้
“เส้นโครงแผนที่ทรงกรวย” ในการสร้างแผนที่ แสดงให้เห็นว่าชาวกรีกมีความเข้าใจว่าโลกเป็นวัตถุสามมิติ ทรงกลมมาตั้งแต่โบราณ
การวาดแผนที่ในสยามไม่ได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในยุคสุโขทัย อยุธยา ใช้การบันทึกเป็นข้อความในจารึกถึงรูปร่างหน้าตาของดินแดนต่างๆมากกว่าการวาดแผนที่ ภาพวาดแผนที่ หรือแผนผังเมืองอยุธยาหรือราชธานีโบราณ โดยมากเป็น
ผลงานของชาวตะวันตก
การจัดทำแผนที่ฉบับทางการของไทย เริ่มในสมัยรัชกาลใด / โดยทรงว่าจ้างใครมาเป็นผู้วาดแผนที่ / แล้วเรียกว่าอะไร / เพราะเหตุใดต้องสร้าง
เริ่มในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยทรงว่าจ้าง “นายเจมส์ แมคคาร์ที” มาเป็นผู้วาดแผนที่
เรียกว่าแผนที่ประเทศไทยหรือแผนที่สยามฉบับแมคคาร์ที
เพราะเหตุผลด้านการเมือง = การปักปันอาณาเขตของสยามกับประเทศเพื่อนบ้านที่ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่ง
ปัจจุบันการทำแผนที่ฉบับทางการของประเทศไทย เป็นหน้าที่ของหน่วยงานใด / เพราะเหตุใด
“กรมแผนที่ทหาร” หรือ Royal Thai Survey
Department : RTSD สังกัดกระทรวงกลาโหม
เพราะประเทศไทยยังคงมองว่า การปักปันอาณาเขตและจัดทำแผนที่เป็น
เรื่องเดียวกัน และเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ
แผนที่แบ่งตามรายละเอียดที่ปรากฏในแผนที่
แบบแบนราบ : เห็นข้อมูลต่างๆแต่ไม่เห็นลักษณะภูมิประเทศ
แบบภูมิประเทศ : เห็นภูมิประเทศต่างๆ
แบบภาพถ่าย : นำภาพจริงจากดาวเทียมหรือภาพถ่ายทางอากาศมาใส่ข้อมูลให้เป็นแผนที่
แผนที่แบ่งตามมาตราส่วน (ภูมิศาสตร์)
แผนที่แบ่งตามมาตราส่วน (กิจการทหาร)
1: 1,000,000 เป็นต้นไป เรียกว่ามาตราส่วนขนาดเล็ก
1: 250,000 – 1,000,000 เรียกว่ามาตราส่วนขนาดกลาง
1: 250,000 ลงมา เรียกว่ามาตราส่วนขนาดใหญ่
1: 600,000 เป็นต้นไป เรียกว่ามาตราส่วนขนาดเล็ก
1: 75,000 – 600,000 เรียกว่ามาตราส่วนขนาดกลาง
1: 75,000 ลงมา เรียกว่ามาตราส่วนขนาดใหญ่
แผนที่แบ่งตามการนำไปใช้งาน หรือแผนที่เฉพาะเรื่อง
สร้างขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆ หนึ่งแผนที่ หนึ่งเรื่อง เช่น
* แผนที่รัฐกิจ ใช้บอกอาณาเขต ดินแดน
* แผนที่การใช้ที่ดิน ใช้บอกโซนการใช้ประโยชน์ที่ดินโซนต่างๆในเมือง
* แผนที่ประวัติศาสตร์ ใช้อธิบายที่ตั้งของดินแดนต่างๆในอดีตของพื้นที่หนึ่งๆ
แผนที่มีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน
ส่วนในขอบระวาง กับส่วนนอกขอบระวาง
ส่วนในขอบระวาง ก็คือตัวแผนที่ ที่มีชื่อสถานที่ต่างๆ สัญลักษณ์ สี เส้น ฯลฯ
ส่วนนอกขอบระวาง ก็คือข้อมูลประกอบแผนที่ ที่เขียนอยู่ในรอบของตัวแผนที่
องค์ประกอบด้านบนสุด นอกขอบระวางของแผนที่ เรียกว่า “ระบบการระบุระวางแผนที่” ประกอบไปด้วย
ชื่อชุดและมาตราส่วน : ประเทศไทย THAILAND 1:50,000
ชื่อระวาง (ชื่อของแผนที่ฉบับนี้) : เช่น บ้านภูมิซรอล BAN PHUM SARON
หมายเลขประจำระวาง : เช่น ระวาง 5931IV
หมายเลขประจำชุด : เช่น ลำดับชุด L7018
เลขประจำชุด L7018 คือโค้ดประจำแผนที่ของประเทศไทยที่จัดทำโดยกรมแผนที่ทหารในปัจจุบัน มีความหมาย คือ
L หมายถึง แผนที่นี้ เป็นแผนที่ครอบคลุมประเทศในทวีปเอเชีย คือ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย จีน
ไต้หวัน เกาหลี และญี่ปุ่น
7 หมายถึง แผนที่นี้ใช้มาตราจัดทำ อยู่ระหว่าง 1:70,000 – 1:35,000
0 หมายถึง แผนที่นี้ เป็นแผนที่ครอบคลุมประเทศย่อย คือ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และจีน
18 หมายถึง ลำดั
การจัดพิมพ์ เขียนว่า 4-RTSD ก็คือ
พิมพ์ครั้งที่ 4 โดยหน่วยงานจัดพิมพ์คือ Royal Thai Survey Dep.
มาตราส่วนแผนที่ ในแผนที่ส่วนใหญ่ นิยมใช้แบบ
แบบบาร์ หรือแบบแท่ง เพราะง่ายต่อการใช้งาน และเมื่อย่อหรือขยายแผนที่
มาตราส่วนแบบบาร์จะยังคงใช้ได้เสมอ ต่างจากมาตราส่วนตัวเลขหรือคำพูด หากย่อหรือขยายแผนที่จะใช้ไม่ได้อีกต่อไป
สัญลักษณ์สีมีอะไรบ้าง
- สีเขียว คือ ป่าไม้ ที่ราบ ที่ต่ำ
- สีน้ำเงิน คือ พื้นน้ำ ทะเล มหาสมุทร เส้นทางน้ำต่างๆ
- สีเหลือง คือ ที่สูง ที่ราบสูง
- สีส้ม สีน้ำตาล คือ ที่สูงยิ่งขึ้นไป ภูเขา เทือกเขา
- สีแดง คือ แทนสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น อาทิ เส้นทางคมนาคม พื้นที่หวงห้าม
- สีดำ คือ แทนสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น หมู่บ้าน เมือง
- สีม่วง คือ พื้นที่สูงอย่างยิ่ง อาทิ ยอดเขา หรือต่ำอย่างยิ่ง
- สีขาว คือ พื้นที่ที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ ขั้วโลก น้ำตื้น พื้นที่ไม่เกี่ยวข้อง
หลักการเขียนชื่อภูมิศาสตร์ หรือชื่อสถานที่ต่างๆลงไปในแผนที่
ทวีป ประเทศ รัฐ เกาะใหญ่ คาบสมุทรใหญ่ = ตัวใหญ่ ตรง
เมือง = ตัวใหญ่แค่ตัวแรก ตรง
มหาสมุทร อ่าวใหญ่ ทะเลใหญ่ ทะเลสาบใหญ่ ภูเขา ทะเลทรายใหญ่ ที่ราบสูง = ตัวใหญ่ เอียง
แม่น้ำ ลำธาร อ่าวเล็ก เกาะเล็ก ช่องแคบ ทะเลทรายเล็ก ที่ลุ่ม โอเอซิส = ตัวใหญ่แค่ตัวแรก เอียง
เขื่อน ถนน ท่อน้ำ ท่อก๊าซ แหล่งอารยธรรมโบราณ สิ่งก่อสร้าง = ตัวใหญ่แค่ตัวแรก เอียง
เช่น ASIA THAILAND London Paris PACIFIC SAHARA Danube Yangtze
เส้นขนาน สำคัญใช้เป็นเส้นแบ่งเขตอากาศคือ
- เส้นศูนย์สูตรหรือเส้นอิเควเตอร์ มีค่ามุม 0 องศา
- เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ มีค่ามุม 23 องศา 30 ลิปดาเหนือ
- เส้นทรอปิกออฟแคปริคอร์น มีค่ามุม 23 องศา 30 ลิปดาใต้
- เส้นอาร์กติกเซอร์เคิล มีค่ามุม 66 องศา 30 ลิปดาเหนือ
- เส้นแอนตาร์กติกเซอร์เคิล มีค่ามุม 66 องศา 30 ลิปดาใต้
เทอร์โมมิเตอร์
บารอมิเตอร์
ไซโครมิเตอร์
ไฮโกรมิเตอร์
แอนิมอมิเตอร์
ศรลม วินเวน
เรนเกจ์
เข็มทิศ
เทเลสโคป
สเตอริโอสโคป
แพลนิมิเตอร์
= อุณหภูมิ
= ความกดอากาศ
= ความชื้น
= ความชื้น
= ความเร็วลม
= ทิศทางลม
= ระดับน้ำฝน
= ทิศ
= วัดระดับ แนวระนาบ
= ส่องดูภาพถ่ายทางอากาศ
= วัดระยะทางในแผนที่
โลกเกิดเทหวัตถุที่หลงเหลือจากการเกิดขึ้นของดวงอาทิตย์ การเย็นตัวของเปลือกโลกทำให้เกิดปรากฏการณ์สืบเนื่องกัน คือ
เกิดเปลือกโลกที่เย็นตัวแล้ว เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต
เปลือกโลกที่เย็นตัวคายความร้อนออกมาเป็นไอน้ำและก๊าซ ทำให้เกิดชั้นบรรยากาศ
ชั้นบรรยากาศที่เกิดขึ้นมาเป็นแหล่งกักเก็บความชื้น ทำให้เกิดวัฏจักรของน้ำ เกิดน้ำบนพื้นผิวของโลก
น้ำเป็นแหล่งต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิต และเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด
เปลือกโลก หรืออะไร / ความหนาประมาณเท่าใด
เปลือกโลก : ลิโธสเฟียร์ หนาไม่เท่ากันในแต่ละพื้นที่ บนบกหนากว่าใต้ท้องทะเล ความหนาประมาณ 16-40 กม. (หรือบวกลบกว่านี้)
ภาคพื้นทวีป มีหิน / หนา / ความหนาแน่น
ภาคพื้นทวีป มีหิน SIAL เป็นองค์ประกอบ SIAL = Silica + Alumina หนามาก หนาแน่นน้อย
ภาคพื้นสมุทร มีหิน / หนา / ความหนาแน่น
ภาคพื้นสมุทร มีหิน SIMA เป็นองค์ประกอบ SIMA = Silica + Magnesium หนาน้อย หนาแน่นมาก
เนื้อโลก หรือ / ความหนา / หินหลายชนิดปะปนกัน มีสถานะเป็น
เมโซสเฟียร์ มีความหนาประมาณ 2,900 กิโลเมตร เป็นหินหลายชนิดปะปนกัน มีสถานะเป็นของเหลวข้นหนืดที่มีความร้อนสูง
แก่นโลก หรือ / ความหนาแน่น / องค์ประกอบหลักเป็นธาตุ
แก่นโลก : แบริสเฟียร์ มีความหนานแน่นมากที่สุด องค์ประกอบหลักเป็นธาตุโลหะหนักเช่น เหล็ก และนิเกิล
แก่นโลกชั้นนอก หนาประมาณ / สถานะ
แก่นโลกชั้นนอก หนาประมาณ 2,000 กม. มีสถานะเป็นของเหลวข้นหนืด
แก่นโลกชั้นใน หนาประมาณ / สถานะ / ความดัน
แก่นโลกชั้นใน หนาประมาณ 1,370 กม. มีสถานะเป็นของแข็ง มีความดันสูง
เส้นผ่านศูนย์กลางในแนวตั้ง / ในแนวนอน
12,714 กม. / 12,757 กม.
จุดสูงสุดของโลกคือ / ประเทศ
ยอดเขาเอเวอร์เรสต์ เทือกเขาหิมาลัย สูง 8,848 เมตร อยู่ในประเทศเนปาล
จุดต่ำสุดของโลกคือที่ / มหาสมุทร / พบที่
จุดต่ำสุดของโลกคือที่ชาเลนเจอร์ดีบ ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา ฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิค ใกล้ประเทศฟิลิปปินส์
ทวีปมี 7 ทวีปได้แก่
มหาสมุทร 5 มหาสมุทร ได้แก่
ทวีปมี 7 ทวีปได้แก่ เอเชีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ แอนตาร์คติก ยุโรป และออสเตรเลีย
มหาสมุทร 5 มหาสมุทร ได้แก่ แปซิฟิค แอตแลนติก อินเดีย อาร์คติก และใต้
หินอัคนี เกิดจากแมกมาหรือลาวาที่เย็นตัวลงได้ แบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่
ยกตัวอย่าง
- อัคนีพุ : ขึ้นมาเย็นบนเปลือกโลก เย็นเร็ว มองไม่เห็นผลึก เนื้อเนียนเรียบ
- ได้แก่ หินแอนดีไซท์ บะซอลท์ ออบซีเดียน พัมมิซ เป็นต้น
- หากพุขึ้นไปเย็นในอากาศ เป็นละอองฝอยลาวาที่เย็นอย่างรวดเร็ว เรียกไพโรคลาสติกส์
- อัคนีแทรกซอน : เย็นใต้เปลือกโลก เย็นช้าๆ เกิดผลึกในเนื้อหิน เนื้อมีผลึกแทรก ไม่เป็นเนื้อเดียว
- ได้แก่ แกรนิต แกบโบร ไรโอไลต์ เป็นต้น
หินตะกอนหรือหินชั้น เกิดจากกระบวนการ / มีกี่ประเภท / เช่น
หินตะกอนหรือหินชั้น เกิดจากกระบวนการ Burial and Compression หรือการสะสมตัว กดอัด ทับถม มี
ตัวเชื่อมประสาน ผ่านไปนานเป็นล้านปี เศษซากอนินทรียวัตถุ อินทรียวัตถุที่สะสมตัวกัน ก่อเกิดเป็นหินชนิดใหม่
* เกิดจากกระบวนการทางเคมี เช่น หินปูน เกลือหิน ยิบซั่ม โดโลไมต์
* เกิดจากกระบวนการทางกลศาสตร์ เช่น หินดินดาน หินกรวดมน หินกรวดเหลี่ยม หินทราย
* เกิดอินทรียวัตถุ เช่น หินเปลือกหอย หินปะการัง ถ่านหิน
หินแปร เกิดจาก / เช่น
หินแปร เกิดจากกระบสนการ Metamorphism หรือการเปลี่ยนสภาพหินอันเกิดจากพลังงานความร้อนและ
แรงดันจากใต้เปลือกโลก ค่อยๆเปลี่ยนสภาพทางเคมีและกายภาพของหินให้ผิดไปจากเดิม แต่ไม่ถึงกับทำละลาย
หิน เกิดเป็นหินชนิดใหม่เช่น
- หินชนวน (จากหินดินดาน) หินอ่อน (จากหินปูน) หินไนส์ (จากหินแกรนิต)
- หินฟิลไลท์ (จากหินชนวน) หินไมคา-ชิสท์ (จากหินฟิลไลท์)
แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เรียกว่า / ปัจจัย
กระบวนการแปรสัณฐาณ หรือกระบวนการเทคโทนิค ปัจจัยที่ทำให้เปลือก
โลกเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาได้แก่ ความร้อนและแรงดันจากแก่นโลกที่ส่งผ่านมายังเนื้อโลกและเปลือกโลก
คนเสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกคนแรกที่มีความน่าเชื่อถือและมีหลักฐานรองรับ ได้แก่ / เสนอว่า
อัลเฟรด เวเกเนอร์ เขาเสนอว่าทวีปเลื่อนได้ จากมหาทวีปแพนเจีย แตกออกเป็นทวีปใหญ่สองแผ่น คือ ลอเรเซีย (อเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย) และกอนด์วานา (อเมริกาใต้ แอฟริกา ออสเตรเลีย แอนตาร์ติก และอินเดีย) ก่อนที่จะขยับออกกลายเป็นทวีปและมหาสมุทรต่างๆในที่สุด
สมมติฐานของเวเกเนอร์ตั้งอยู่บนหลักฐานสำคัญ 4 ข้อได้แก่
รอยต่อของแผ่นทวีปต่างๆ
ซากฟอสซิลสัตว์และพืชชนิดเดียวกันที่พบข้ามทวีป
รอยต่อของแผ่นหินและเทือกเขาที่อยู่ต่างทวีปกัน
ร่องรอยภูมิอากาศยุคโบราณที่บ่งชี้ว่าบางทวีปอาจมีภูมิอากาศต่างจากที่เป็นในปัจจุบัน
แผ่นธรณีภาคแบ่งออกเป็น / ได้แก่
แผ่นทวีป ได้แก่ แผ่นยูเรเซีย แผ่นอินเดีย แผ่นอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ แอฟริกา เป็นต้น
แผ่นมหาสมุทร ได้แก่ แผ่นแปซิฟิก แผ่นแอนตาร์กติก แผ่นแคริบเบียน แผ่นนาซกา เป็นต้น
การขยับตัวของแผ่นธรณีภาค อาจทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ คือ
การเกิดภูมิประเทศอย่างใหญ่ เช่น เทือกเขา ที่ราบสูง
การเกิดภูเขาไฟ
การเกิดแผ่นดินไหว
การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค เกิดได้ 3 รูปแบบ คือ
Convergent Plate Motion แผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่เข้าหากัน
Divergent Plate Motion แผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่แยกออกจากกัน
Transform Plate Motion แผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่เลื่อนเฉือนกัน
สมุทร ชน ทวีป =
สมุทร ชน สมุทร =
ทวีป ชน ทวีป =
ได้ร่องลึก ภูเขาไฟ เทือกเขาริมฝั่ง
ได้ร่องลึก ภูเขาไฟใต้ทะเล เกาะภูเขาไฟ
ได้เทือกเขาสูง
Fault หรือรอยเลื่อน เป็นการเคลื่อนไหวของ
แผ่นเปลือกโลกบริเวณรอยแตกหรือรอยแยกที่แมกมาเคลื่อนที่แทรกเข้ามามี
อิทธิพล ทำให้เกิดการสั่นสะเทือน หรือการเปลี่ยนแปลงบริเวณพื้นที่ที่เป็นรอยเลื่อนนั้นๆ
รอยเลื่อนปกติ =
รอยเลื่อนย้อน =
รอยเลื่อนเฉือน =
เกิดที่ราบสูง ภูเขารูปบล็อก ภูเขายอดตัด หุบเขา แอ่ง ฮอสต์ กราเบน
เกิดที่ราบสูงขอบหน้าผา
เกิดรอยไม่ต่อเนื่องในแนวหิน
ภูเขาที่มียอดแบนราบ หรือภูเขารูปบล็อก หรือภูเขายอดตัด หรือฮอสต์ เกิดจากรอยเลื่อนปกติที่ยกตัวขึ้น เช่
ภูเขาแบล็คฟอร์เรส (เยอรมนี) ภูกระดึง ภูหลวง ภูเรือ จังหวัดเลย เป็นต้น
ที่ราบ = / ต่างระดับไม่มากไม่เกิน / และโดยรวมอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน / แบ่งเป็น
ที่ราบ = ราบเรียบ ต่างระดับไม่มากไม่เกิน 150 เมตร และโดยรวมอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 100 เมตร
ที่ราบโครงสร้างเปลือกโลกต่ำ = ที่ราบต่ำรัสเซีย ที่ราเกรตเพลน
ที่ราบกร่อนตัว = เกิดจากการกัดกร่อนของตัวการธรรมชาติต่างๆทำให้ลดระดับต่ำลง
ที่ราบสะสมตัว = เกิดจากการสะสมตัวของตะกอน เช่น ที่ราบดินดอนปากแม่น้ำ ที่ราบรูปพัด ที่ราบน้ำท่วมถึง
ที่ราบธารน้ำแข็ง = เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนที่พามาโดยธารน้ำแข็ง
ที่ราบลุ่มทะเลสาบ = เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนในทะเลสาบ
ที่ราบก้นสมุทร = เกิดจากตะกอนที่ที่สะสมตัวอยู่บริเวณก้นสมุทร
ที่ราบหินละลาย = เกิดจากลาวาที่เย็นตัวสะสมกันอยู่บริเวณพื้นที่ใกล้ภูเขาไฟ
ที่ราบสูง = สูงเกิน —- เมตรจากระดับน้ำทะเล / แบ่งเป็น
ที่ราบสูง = สูงเกิน 300 เมตรจากระดับน้ำทะเล
ที่ราบสูงระหว่างภูเขา = อยู่ระหว่างภูเขา เช่น ที่ราบสูงทิเบต ที่ราบสูงเกรตเบซิน
ที่ราบสูงเชิงเขา = อยู่บริเวณลาดเขา เช่น ที่ราบสูงปาตาโกเนีย
ที่ราบสูงทวีป หรือรูปโต๊ะ = เกิดจากการยกตัวขึ้น เช่น ที่ราบสูงเดคคาน ที่ราบสูงไฮเวลล์ ที่ราบสูงโคราช
ที่ราบสูงภูเขาไฟ = เกิดจากตะกอนภูเขาสะสมตัวจนยกสูง เช่น ที่ราบสูงบริติชโคลัมเบีย
ที่ราบสูงซอยแบ่ง = เกิดจากแม่น้ำเข้าไปกัดเซาะที่ราบสูงจนเกิดการยุบตัวเว้าแหว่ง เช่น ที่ราบสูงโอซาร์ค ที่ราบสูงนครไทย
เนินเขา มีความลาดต่างระดับมากกว่า —- เมตร แต่สูงไม่เกิน —- เมตร / ได้แก่
เนินเขา = มีความลาดต่างระดับมากกว่า 100 มาตร แต่สูงไม่เกิน 600 เมตร
เนินเขาเกิดจากโครงสร้างเปลือกโลก
เนินเขาเกิดจากการกร่อนพังทลายของพื้นที่สูง
ภูเขา = มีความลาดต่างระดับ และสูงเกิน —- เมตร / ได้แก่
ภูเขา = มีความลาดต่างระดับ และสูงเกิน 600 เมตร
ภูเขาเกิดจากการคดโค้ง = เทือกเขาแอล์ป เทือกเขาร็อกกี้ เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาในภาคเหนือของไทย
ภูเขารูปบล็อก หรือยอดตัด = ภูเขาแบล็คฟอร์เรส (เยอรมนี) ภูกระดึง ภูหลวง ภูเรือ จังหวัดเลย
ภูเขาไฟ = ภูเขาไฟฟูจิ ภูเขาไฟมายอน ภูเขาไฟกระกะตัว ภูเขาไฟเอตนา ภูเขาไฟสตรอมโบลิ ภูเขาไฟเซนต์เฮเลน
ภูกระโดง ภูพนมรุ้ง จังหัดบุรีรัมย์
ภูเขาที่เหลือจากการกัดกร่อน = เดิมทีเป็นภูเขาแต่ถูกกัดกร่อนจนคงเหลือสภาพเป็นที่ราบสูงและภูเขา หุบเขาสลับกัน เช่น แกรนด์แคนยอน สหรัฐอเมริกา
ตัวการจัดระดับ : น้ำฝน
ภูเขาถล่ม ดินถล่ม โคลนเลื่อน ตลิ่งทรุด (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
ร่องน้ำ (Gully) โกรกธาร หรือโตรกธาร = ทางน้ำที่เกิดจากฝนไหลเป็นทางในภูเขา (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
แบดแลนดส์ = ภูเขาที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำฝนเกิดเป็นรูปทรงแปลกตา (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
เสาหิน เสาดิน เช่น โป่งยุบ (ราชบุรี) ฮ่อมจ๊อม (น่าน) แพะเมืองผี (แพร่) ละลุ (สระแก้ว) (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
ตัวการจัดระดับ : แม่น้ำวัยหนุ่ม = / ได้แก่
ตัวการจัดระดับ : แม่น้ำวัยหนุ่ม = ไหลแรงเป็นทางตรง แรงดันสูง ท้องร่องลึก แคบ
แก่ง และน้ำโจน (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
น้ำตก (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
กุมภลักษณ์ (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
หุบเขารูปตัววี (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
หุบเขารูปตัวยู และแคนยอน (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
ที่ราบรูปพัด (กระบวนการเกิด : ทับถม)
ตัวการจัดระดับ : แม่น้ำวัยชรา = / ได้แก่
ไหลช้าลง ไหลคดเคี้ยว แรงดันตกลง ท้องร่องตื้นจากตะกอนที่สะสม ท้องน้ำกว้าง
ที่ราบน้ำท่วมถึง (กระบวนการเกิด : ทับถม)
ทะเลสาบรูปแอกหรือกุด หรือบึงโค้ง (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
ที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (กระบวนการเกิด : ทับถม)
ตัวการจัดระดับ : น้ำใต้ดิน
น้ำพุ (ตาน้ำผุด) (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
บ่อน้ำแร่ (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
น้ำพุร้อน น้ำตกร้อน (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
กีเซอร์ (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
ถ้ำ (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
หินย้อย หินงอก (กระบวนการเกิด : ทับถม)
หลุมยุบ (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
แอ่งหินปูน (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
ป่าช้าหิน (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
ตัวการจัดระดับ : ลม
แอ่งในทะเลทราย (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
โอเอซิส (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
ทะเลสาบแห้ง (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
สันทราย (กระบวนการเกิด : ทับถม)
โขดหินรูปเห็ด หินรูปโต๊ะ แท่งหิน (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
ก้อนดินเลอส (กระบวนการเกิด : ทับถม)
ตัวการจัดระดับ : ธารน้ำแข็ง
ทะเลสาบ (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
หุบเขารูปตัวยู (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
หุบเขาแขวน (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
ฟยอร์ด (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
เซิร์ก (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
อะรีต (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
ฮอร์น (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
เหวหิมะยอดเขา (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
ที่ราบเศษหินธารน้ำแข็ง (กระบวนการเกิด : ทับถม)
ตัวการจัดระดับ : คลื่น
หน้าผาทะเล (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
ถ้ำทะเล โพรงหินริมฝั่ง (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
ช่องลม (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
สะพานหินธรรมชาติ (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
เกาะหินโด่ง (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
ชะวากทะเล (กระบวนการเกิด : ผุพัง)
ชายหาด (กระบวนการเกิด : ทับถม)
สันทรายนอกฝั่ง สันทรายจะงอย (กระบวนการเกิด : ทับถม)
ทะเลแหวก (กระบวนการเกิด : ทับถม)
ความสำคัญของชั้นบรรยากาศโลก
เก็บกักก๊าซที่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ
กรองรังที่อันตรายจากนอกโลก เช่น เอกซ์ แกมมา อัลตราไวโอเลต
เป็นเรือนกระจกรักษาอุณหภูมิให้โลกในเวลาที่ไม่ได้รับความร้อน ทำให้ไม่หนาวจัด ร้อนจัด
เป็นที่สะสมไอน้ำ ทำให้เกิดวัฏจักรของน้ำ
บรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ :
เกิดปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ หมอก เมฆ ฝน ลูกเห็บ หิมะ รุ้งกินน้ำ มีอากาศมาก ความดันสูง แปรปรวนมาก ยิ่งสูงยิ่งหนาว อุณหภูมิลดลง 6.4 องศาเซลเซียสต่อ 1 กิโลเมตร ด้านบนสุดเรียก โทรโพพอส
บรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ :
อากาศเบาบาง สงบ ปราศจากความแปรปรวน ยิ่งสูงยิ่งร้อน ด้านบนสุดมีการสะสมตัวของก๊าซโอโซนมาก เรียก Ozone Layer เป็นจุดกรองรังสีที่สำคัญให้แก่โลก
บรรยากาศชั้นเมโซสเฟียร์ :
ยิ่งสูงยิ่งหนาว อากาศลดต่ำได้ถึง -120 องศาเซลเซียส มีแนวเมโซพอสอยู่ เป็นจุดที่เทหวัตถุจากนอกโลกโดยมากแล้วจะเผาไหม้หมดที่บรรยากาศชั้นนี้
บรรยากาศชั้นเทอร์โมสเฟียร์ :
ร้อนจัด อากาศเบาบาง โมเลกุลของก๊าซแตกตัวเป็นประจุ เรียกว่าชั้น ไอโอโนสเฟียร์ก็ได้ เป็นชั้นที่ใช้ประโยชน์ในการสะท้อนคลื่นวิทยุระบบ AM และเกิดปรากฏการณ์ Aurora Borealis, Aurora Australis
บรรยากาศชั้นเอกโซสเฟียร์ :
ร้อนมากๆ อากาศเบาบางมาก เหลือแต่ประจุ ไม่มีขอบเขตแน่ชัด เป็นส่วนของชั้นอวกาศ มีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์โลกน้อยที่สุด
ลมฟ้าอากาศ หรือ Weather =
ภูมิอากาศ หรือ Climate =
อากาศในช่วงเวลาหนึ่งๆ ในพื้นที่หนึ่งๆ
สภาพอากาศโดยเฉลี่ย โดยภาพรวมของพื้นที่หนึ่งๆ ตลอดระยะเวลาหนึ่งๆ
ปัจจัยที่กำหนดความแตกต่างด้านอุณหภูมิในแต่ละพื้นที่
พื้นดิน พื้นน้ำ
การระเหย การควบแน่น
ปริมาณเมฆ
ช่วงเวลาของวัน
ความกดอากาศ
ความชื้น
ฤดูกาล
ฤดูกาล เกิดจาก
แกนโลกเอียง 23.5 องศาเมื่อหมุนรอบตัวเองและโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้แต่ละช่วงของปี หันส่วนต่างๆเข้าหาดวงอาทิตย์ในระยะใกล้ไกลไม่เท่ากัน
21 มิถุนายน
อุตรายัน หรือ ครีษมายัน
Summer Solstice
โลกหันหน้าเอา Tropic of Cancer เข้าหาดวงอาทิตย์ ซีกโลกเหนือเป็นฤดูร้อน กลางวันยาว กลางคืนสั้น
ซีกโลกใต้เป็นฤดูหนาว กลางวันสั้น กลางคืนยาว
หลังจากนี้ซีกโลกเหนือจะร้อนจนถึงที่สุดและคลายร้อน ไปสู่ฤดูใบไม้ร่วง
เกิดปรากฏการณ์ Midnight Sun ในซีกโลกเหนือ บริเวณใกล้ขั้วโลก
22 กันยายน
ศารทวิษุวัต
Autumn Equinox
โลกหันหน้าเอาศูนย์สูตรเข้าหาดวงอาทิตย์ ซีกโลกเหนือใต้ กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน
ซีกโลกเหนือเป็นฤดูใบไม้ร่วง ซีกโลกใต้เป็นฤดูใบไม้ผลิ
หลังจากนี้ซีกโลกเหนือจะหนาวขึ้นเรื่อยๆ ไปสู่ฤดูหนาว
21 ธันวาคม
ทักษิณายัน หรือ เหมายัน
Winter Solstice
โลกหันหน้าเอา Tropic of Capricorn เข้าหาดวงอาทิตย์ ซีกโลกเหนือเป็นฤดูหนาว กลางวันสั้น กลางคืนยาว
ซีกโลกใต้เป็นฤดูร้อน กลางวันยาว กลางคืนสั้น
หลังจากนี้ซีกโลกเหนือจะหนาวจนถึงที่สุดและคลายหนาว ไปสู่ฤดูใบไม้ผลิ
เกิดปรากฏการณ์ Midnight Sun ในซีกโลกใต้ บริเวณใกล้ขั้วโลก
21 มีนาคม
วสันตวิษุวัต
Spring Equinox
โลกหันหน้าเอาศูนย์สูตรเข้าหาดวงอาทิตย์ ซีกโลกเหนือใต้ กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน
ซีกโลกเหนือเป็นฤดูใบไม้ผลิ ซีกโลกใต้เป็นฤดูใบไม้ร่วง
หลังจากนี้ซีกโลกเหนือจะอุ่นขึ้นเรื่อยๆ ไปสู่ฤดูร้อน
กระแสอากาศ =
ลม =
ความกดอากาศสูง = — / ความกดอากาศต่ำ = —- : ลมพัดจากที่เย็นไปสู่ที่ร้อน
อากาศที่เคลื่อนที่ในแนวดิ่ง
มวลอากาศที่เคลื่อนที่ในแนวนอน ขนานกับพื้นโลก เกิดจากความแตกต่างระหว่างความกดอากาศระหว่างพื้นที่
อุณหภูมิต่ำ / อุณหภูมิสูง
ลมประจำปี = / แบ่งเป็น
พัดอยู่ที่เดิมตลอดทั้งปี พัดในห้องอากาศประจำของตนเอง เกิดจากความแตกต่างด้านความกดอากาศระหว่างเขตพื้นที่ต่างละติจูดในโลก
ลมที่พัดในห้องอากาศแฮดลี่ย์ = ลมค้า
ลมที่พัดในห้องอากาศเฟอร์เรลล์ = ลมตะวันตก
ลมที่พัดในห้องอากาศขั้วโลก = ลมขั้วโลก
ลมประจำฤดู = / แบ่งเป็น
ลมที่พัดเฉพาะฤดู เกิดความแตกต่างระหว่างอากาศบนฝั่งและในทะเล
ลมมรสุมฤดูร้อน = ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดเดือนพฤษภาคมถึงประมาณตุลาคม
* ซีกโลกเหนือร้อน โลกหันเอา Cancer เข้าหาดวงอาทิตย์ อากาศในทะเลเย็นกว่า ลมพัดจากทะเลสู่บก
* พัดเอาความชื้นมาให้ ทำให้ฝนตกตลอดช่วงมรสุม
ลมมรสุมฤดูหนาว = ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดเดือนพฤศจิกายนถึงประมาณกุมภาพันธ์
* ซีกโลกเหนือหนาว โลกหันเอา Capricorn เข้าหาดวงอาทิตย์ อากาศในทะเลอุ่น ลมพัดจากบกสู่ทะเล
* พัดเอาความหนาวจากทางเหนือมาฝากให้ ทำให้อากาศทางตอนใต้แถบศูนย์สูตรลดต่ำลง
* อากาศแห้ง ท้องฟ้าโปร่ง พื้นที่ติดทะเลบางแห่งเกิดฝนตก เช่น ภาคใต้ฝั่งตะวันออก (อ่าวไทย)
ลมประจำถิ่น
ลมตะเภา พัดจากอ่าวไทย ขึ้นเหนือ พัดเอาความชื้นมาให้ พัดช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน
ลมข้าวเบา พัดจากตอนเหนือลงสู่ทะเล พัดเอาอากาศแห้งมาให้ พัดช่วงเดือนกันยายน – พฤศจิกายน
ลมเพชรหึง พัดนำมรสมุมตะวันตกเฉียงใต้ ในช่วงเปลี่ยนฤดู ประมาณเดือนเมษายน – พฤษภาคม
ลมประจำเวลา
ลมทะเล = กลางวัน ทะเลเย็น บกร้อน ลมพัดจากทะเลสู่บก
ลมบก = กลางคืน ทะเลอุ่น บกเย็น (คลายความร้อนเร็ว) ลมพัดจากบกสู่ทะเล
ลมหุบเขา = กลางวัน หุบเขาไม่ได้รับแสงอาทิตย์มากเย็นกว่ายอดเขาที่ได้รับแดด ลมพัดจากหุบเขาสู่ยอดเขา
ลมภูเขา = กลางคืน อุณหภูมิยอดเขาลดต่ำอย่างรวดเร็ว ลมดพัดจากภูเขาสู่หุบเขา
ปัจจัยที่มีผลต่อสภาพภูมิอากาศ และการแบ่งเขตภูมิอากาศ
- ที่ตั้งละติจูด
- ความใกล้ไกลทะเล
- ลมประจำ
- กระแสน้ำในมหาสมุทร
- ความสูงต่ำของพื้นที่
- การวางตัวของเทือกเขา
- การแบ่งเขตภูมิอากาศโดยเกณฑ์การแบ่งของเคิปเปน แบ่งได้โดยอาศัยปัจจัยสำคัญ 3 ประการ ได้แก่
อุณหภูมิเฉลี่ย
ปริมาณน้ำฝน
พืชพรรณธรรมชาติ
A
B
C
D
E
ภูมิอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตรทุกเดือนอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่า 18°C
ไม่มีฤดูหนาว ปริมาณน้ำฝนสูงกว่าการระเหย
ภูมิอากาศแห้งแล้ง ฝนตกน้อยการระเหยของน้ำมากมี 2 กลุ่ม
คือ BS หมายถึง เขตกึ่งแห้งแล้งหรือ สเต็ปป์ และ BW หมายถึงเขตแห้งแล้ง หรือ ทะเลทราย
ภูมิอากาศอบอุ่น ฤดูร้อนอากาศอบอุ่นฤดูหนาวไม่หนาวมาก
อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่หนาวที่สุดต่ำกว่า 18°C และสูงกว่า -3°C
ภูมิอากาศหนาวเย็น ฤดูร้อนอากาศเย็น ฤดูหนาวหนาวเย็น
อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่อบอุ่นที่สุดไม่ต่ำกว่า 10°C อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่หนาวที่สุดต่ำกว่า -3°C
ภูมิอากาศขั้วโลกอุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่อบอุ่นที่สุดต่ำกว่า 10°C
มี 2 กลุ่ม คือ EF พบในบริเวณที่มีน้ำแข็งปกคลุมถาวร และแบบทุนดรา (Tundra)
ET ซึ่งจะมีระยะเวลาเพียง 4 เดือนที่อุณหภูมิสูงกว่าจุดเยือกแข็ง
้ำบนโลกส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบ, น้ำจืดร้อยละ
น้ำบนโลกส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบน้ำเค็ม ส่วนที่เป็นน้ำจืดมีเพียงไม่เกินร้อยละ 2.5 ของปริมาณน้ำทั้งหมดในโลก
น้ำบนโลกสะสมตัวอยู่ตาม
น้ำแข็งบริเวณขั้วโลก ธารน้ำแข็ง น้ำใต้ดิน น้ำในทะเลและมหาสมุทร น้ำในทะเลสาบ น้ำในดิน น้ำในแม่น้ำลำธาร และอยู่ในรูปของไอน้ำด้วย
มหาสมุทรที่สำคัญของโลก มี 5 แห่ง ได้แก่
แปซิฟิค แอตแลนติก อินเดีย อาร์กติก และใต้
ทะเล มี 3 ประเภท คือ
ทะเลเปิด เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทร เช่น เหนือ จีนใต้ อันดามัน อาหรับ เป็นต้น
ทะเลปิด หรือทะเลสาบ ไม่มีทางไหลสู่มหาสมุทร เช่น ไบคาล วิคตอเรีย เป็นต้น
ทะเลภายใน มีแผ่นดินล้อมรอบ แต่ยังมีส่วนที่ติดต่อไปยังมหาสมุทรภายนอกได้ เช่น เมดิเตอร์เรเนียน แดง ดำ บอลติก เป็นต้น
ทะเลสาบ เกิดได้จากกระบวนการหลักๆ 2 ประการ คือ
เกิดจากกระบวนการแปรสัณฐาน
* เกิดจากการยุบตัวหรือแยกตัวของธรณีภาค เช่น ไบคาล แคสเปียน วิคตอเรีย แทนแกนยิกา มาลาวี
อารัล เป็นต้น
* เกิดจากปากปล่องภูเขาไฟที่เย็นแล้ง เช่น เครเตอร์เลค เป็นต้น
เกิดจากการจัดระดับผิวดิน
* เกิดจากธารน้ำแข็งเป็นตัวการ เช่น : ซูพีเรีย มิชิแกน อีรี ฮูรอน ออนแทริโอ
* เกิดจากทะเลเป็นตัวการ (ลากูน) เช่น ทะเลสาบสงขลา
* เกิดจากแม่น้ำเป็นตัวการ (กุด หรือบึงโค้ง)
* เกิดจากแม่น้ำเป็นตัวการพาตะกอนมาปิดทะเลเดิม เช่น ทะเลสาบเขมร
ธรรมชาติของทะเลและมหาสมุทร
น้ำทะเลมีส่วนผสมเป็นสารละลาย หรือน้ำเกลือ โดยเฉลี่ยในน้ำทะเล 1,000 กรัม จะมีเกลือประมาณ 35 กรัม และ
ยังมีสารละลายอื่นๆ เช่น คาร์บอน ซิลิกอน โบรมีน กำมะถัน ทองคำ ทองแดง ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีก๊าซต่างๆและ
สารแขวนลอยประกอบอยู่ด้วย
ความเค็มของน้ำทะเล : มีการระเหยมาก เค็มมาก มีการกลายเป็นน้ำแข็งมาก เค็มมาก มีปริมาณฝนและหิมะมาก
จะเค็มน้อย มีแม่น้ำลำธารหรือกระแสน้ำไหลเข้ามามาก จะเค็มน้อย
อุณหภูมิของน้ำทะเล : อุณหภูมิของน้ำทะเลแตกต่างกันไปตามแต่ละติจูด อุณหภูมิที่แตกต่างกันเป็นต้นเหตุสำคัญ
ของการไหลเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทรในลักษณะที่คล้ายกันกับการเกิดลม
ความหนาแน่นของน้ำทะเล ขึ้นอยู่ปัจจัยต่างๆ คือ
* ปริมาณสารละลาย มีเกลือมากหรือน้อย หากมีมาก จะมีความหนาแน่นมาก
* อุณหภูมิของน้ำ มีอุณหภูมิต่ำจะมีความหนาแน่นมาก หากอุ่นขึ้นมวลน้ำจะขยายตัว ทำให้หนาแน่น
ลดลง
* ความลึกของน้ำทะเล หากมีความลึกมาก จะมีน้ำหนักมากตามมวลของน้ำที่กดทับเอาไว้
สิ่งมีชีวิตในทะเล
* แพลงตอน = เคลื่อนที่เองไม่ได้ มีขนาดเล็ก ล่องลอยไปตามผิวน้ำ
* เนคตอน = เคลื่อนที่ด้วยตนเอง ได้แก่ ปลา สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เปลือกแข็ง เป็นต้น
* เบนทอส = อาศัยอยู่ก้นทะเล มีทั้งเคลื่อนที่ได้และไม่ได้ เช่น หอย ปะการัง สาเหร่าย เป็นต้น
แสงสว่างในทะเล โดยปกติ หากน้ำใส แสงอาทิตย์จะส่องลึกลงไปในน้ำทะเลได้ประมาณ 200 เมตร เขตที่ได้รับแสง
สว่างจากดวงอาทิตย์เรียกว่า “เขตเนอริติก”
การเคลื่อนที่ของทะเลและมหาสมุทร
เคลื่อนที่จากคลื่น = เกิดจากลม
เคลื่อนที่จากคลื่นยักษ์ หรือสึนามิ = เกิดจากแผ่นดินไหว
เคลื่อนที่จากน้ำขึ้นน้ำลง = เกิดจากแรงดึงดูดของดวงดาว
เคลื่อนที่จากกระแสน้ำในมหาสมุทร
น้ำขึ้นน้ำลง น้ำเกิดน้ำตาย น้ำมากน้ำน้อย
น้ำขึ้นน้ำลงเกิดจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์เป็นหลัก เกิดขึ้นทุกวัน วันละ 2 รอบ คือ น้ำขึ้นสุด 2 ครั้ง น้ำลงสุด 2
ครั้งในรอบวัน มีระยะเวลาระหว่างรอบ ประมาณ 6 ชั่วโมง 12 นาที
วงรอบการเกิดขึ้นของน้ำขึ้นน้ำลงระหว่างวันจะห่างกันออกไป 48 นาทีในทุกๆวัน ทั้งนี้ เนื่องมาจากการโคจรของ
ดวงจันทร์ที่มีการเปลี่ยนตำแหน่งโคจรรอบโลกไปในทุกๆวัน
น้ำเกิด = เกิดเมื่อดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อยู่ในระนาบเดียวกัน แรงดึงดูดมากกว่าปกติ น้ำขึ้นก็ขึ้นมาก ลงก็ลง
มากกว่าปกติ มักจะเกิดในวันขึ้น และ แรม 15 ค่ำ เดือนหนึ่งอาจเกิดขึ้นได้ 2 ครั้ง
น้ำตาย = เกิดเมื่อดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อยู่ในแนวตั้งฉากกัน แรงลัพธ์จากการดึงดูดระหว่างกันมีค่าใกล้ 0 ทำให้ใน
วันนั้น น้ำขึ้นน้อยและน้ำลงน้อยกว่าปกติจนแทบไม่ขึ้นหรือลง เรียกว่าน้ำตาย มักจะเกิดในวันขึ้นและแรม 8 ค่ำ
น้ำมาก น้ำน้อย = ดวงจันทร์ไม่ได้โคจรรอบโลกเป็นวงกลม แต่เป็นวงรี และโลกไม่ได้อยู่กึ่งกลางพอดีของวงโคจร
ทำให้ดวงจันทร์อาจเคลื่อนโคจรเข้ามาใกล้โลกในบางวันมากกว่าปกติ หรือบางวันก็อยู่ห่างออกไปมากกว่าปกติได้
เช่นกัน วันที่ดวงจันทร์เคลื่อนเข้ามาใกล้โลกมากกว่าปกติ ก็จะทำให้น้ำขึ้นมากกว่าปกติ เรียกวันน้ำมาก วันที่
เคลื่อนที่ห่างออกไป ก็เรียกวันน้ำน้อย
กระแสน้ำในมหาสมุทร
วาดภาพตามหนังสือ
อิทธิพลของกระแสน้ำอุ่น และ เย็น
อิทธิพลของกระแสน้ำอุ่น : ทำให้อากาศชื้น อบอุ่น มีอิทธิพลต่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณธรรมชาติ
อิทธิพลของกระแสน้ำเย็น : ทำให้อากาสแห้ง เย็น อาจทำให้เกิดพื้นที่ทะเลทราย
ภูมิลักษณ์ทางอุทกภาคและชายฝั่ง
1. ชายฝั่งทะเลแบบยุบจม
เกิดจากการที่เปลือกในบริเวณริมฝั่งทะเลยุบจมลง หรือน้ำทะเลมีระดับสูงขึ้นจนท่วมแผ่นดิน
ชายฝั่งไม่ค่อยมีที่ราบ หาดสั้น หรือไม่มีหาด มีหน้าผาทะเล เกาะแก่งและโขดหินมาก เว้าแหว่ง
พบภูเขาหินปูนมาก เกิดชะวากทะเลขึ้น
ในประเทศไทยพบที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล
ภูมิลักษณ์ทางอุทกภาคและชายฝั่ง
2. ชายฝั่งทะเลแบบยกตัว
เกิดจากการที่เปลือกโลกยกตัวขึ้น หรือน้ำทะเลมีระดับลดลงจนเกิดฝั่ง
มีพื้นที่ชายฝั่ง มีหาดที่เกิดจากการทับถมของตะกอนมานอน มีเกาะขนาดใหญ่ ไม่ค่อยพบเกาะเล็กๆริมฝั่ง
ไม่พบโขดหินมาก น้ำตื้นกว่าแบบยุบจม
ในประเทศไทยพบที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ภาตใต้ฝั่งตะวันออกและภาคตะวันออก
ภูมิลักษณ์ทางอุทกภาคและชายฝั่ง
3. เกาะ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
เกาะริมทวีป = อาจจะเคยเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดินมาก่อน แล้วเกิดการเคลื่อนไหวของแผ่นธรณีภาคทำให้แยกตัว
ออกไป หรือเกิดจากการกัดเซาะของคลื่นหรือกระแสน้ำ ทำให้แยกตัวออกไปจากแผ่นดินใหญ่ เช่น หมู่เกาะอังกฤษ
เกาะกรีนแลนด์ เกาะแทสมาเนีย เกาะภูเก็ต เกาะสมุย เป็นต้น
เกาะกลางสมุทร แบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่
* เกาะภูเขาไฟ เกิดจากตะกอนภูเขาไฟทับถมกัน เช่น เกาะฮาวาย
* เกาะปะการัง เกิดจากปูนขาวที่ปะการังผลิตออกมาเมื่อตาย หากเกิดในน้ำรอบๆเกาะภูเขาไฟเดิม เมื่อ
ภูเขาไฟยุบหายไป จะเรียกว่า อะโทล
ภูมิลักษณ์ทางอุทกภาคและชายฝั่ง
3. อาณาเขตทางทะเล
น่านน้ำภายใน = น่านน้ำที่อยู่หลังเส้นฐานแห่งทะเลอาณาเขต เช่น น้ำในแม่น้ำ ลำธาร อ่าว ทะเลสาบ ปากแม่น้ำ
ทะเลอาณาเขต = นับจากเส้นฐานที่กำหนดจากหมุดไป 12 ไมล์ทะเล เป็นอาณาเขตของประเทศหนึ่งๆโดยสมบูรณ์
มีอำนาจอธิปไตยเต็มที่
เขตต่อเนื่อง = นับจากเส้นฐานไปไม่เกินกว่า 24 ไมล์ทะเล สามารถบังคับใช้กฎหมายบางประการ เช่น ข้อบังคับ
ศุลกากร การคลัง การเข้าเมือง สุขาภิบาล และดำเนินการด้านวัตถุโบราณ วัตถุทางประวัติศาสตร์ได้
เขตเศรษฐกิจจำเพาะ = นับจากเส้นฐานไปไม่เกินกว่า 200 ไมล์ทะเล เป็นเขตพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
เช่น การสำรวจ การแสวงประโยชน์ การอนุรักษ์ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
ทะเลหลวง = ทุกส่วนของทะเลที่ไม่ได้รวมอยู่เขตที่ระบุมาข้างต้นทั้งหมด เป็นพื้นที่เปิดให้แก่รัฐทั้งปวง สามารถใช้
เพื่อการเดินเรือ การบิน การทำประมงได้ แต่ไม่อาจครอบครองหรืออ้างสิทธิ์ได้ โดยทุกรัฐที่ทำการประมงหรือใช้
ประโยชน์ในทะเลหลวงจะต้องช่วยกันอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรที่มีชีวิตในท้องทะเล
จงวาดภาพภูมิลักษณ์ที่ได้จากตัวกระทำคือแม่น้ำทั้งหมด
วาดภาพตามหนังสือ