SUM M.5 T.1 Flashcards
อสังขตธรรม
สิ่งหรือปรากฏการณ์ทั้งหลายที่มีอยู่ในธรรมชาติและเหนือธรรมชาติ สิ่งที่เหนือธรรมชาติ ปราศจากปัจจัยปรุงแต่ง (หมายถึงพระนิพพาน)
สังขตธรรม
สิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ เกิดขึ้นเป็นไปตามอำนาจเหตุปัจจัยปรุงแต่ง
อาคาริยวินัย
ศีลสำหรับผู้ครองเรือนนั้นได้แก่ ศีล 5 ศีล 8 และหลักแห่งความประพฤติที่จำเป็นสำหรับผู้ครองเรือนบางหมวด
อนาคาริยวินัย
ศีลสำหรับผู้ไม่ครองเรือน หมายถึง ภิกษุ และภิกษุณี แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
2.1 อาทิพรหมจริยกาศีล ศีลที่เป็นหลักใหญ่ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเป็นสิกขาบทหรือเป็นข้อ ๆ เรียกอีกอย่างว่าศีลที่มาในพระปาฏิโมกข์ สำหรับภิกษุมี 227 สิกขาบท สำหรับภิกษุณีมี 311 สิกขาบท
2.2 อภิสมาจาริกาศีล คือ ศีลหรือข้อบัญญัติเกี่ยวกับมารยาทที่ควรประพฤติและไม่ควรประพฤติ นอกจากที่มาในพระปาฏิโมกข์เพื่อให้เหมาะสมแก่ความเป็นสมณะที่แตกต่างจากผู้ครองเรือนทั่วไป
อนุบัญญัติ และ มูลบัญญัต
บัญญัติเพิ่มเติมเรียกว่า อนุบัญญัติ ส่วนพระบัญญัติเก่าเรียกว่า มูลบัญญัติ
อาทิกัมมิกะ
ผู้เป็นต้นบัญญัติ
ทิฎฐธัมมิกัตถะ และ สัมปรายิกัตถะ และ ปรมัตถะ
ประโยชน์ขั้นต้น และ ประโยชน์ขั้นสูง และ ประโยชน์ขั้นสูงสุด (นิพพาน)
ขันธ์ 5
หมายถึงองค์ประกอบของชีวิต 5 ประการ
- รูป คือส่วนที่เป็นร่างกายรวมถึงพฤติกรรมทั้งหมดของร่างกาย (ประกอบด้วยธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ขนาดกว้างศอก ยาววา หนาคืบ)
- วิญญาณ คือการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 และใจ
- เวทนา หมายถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นต่อสิ่งที่รับรู้
- สัญญา ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าคำมั่นสัญญาเหมือนในภาษาสามัญ แต่หมายถึงการกำหนดหมายรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง การแยกแยะได้ว่าอะไรเป็นอะไร อันเป็นขั้นตอนถัดจากเวทนา
- สังขาร แปลว่าสิ่งที่ปรุงแต่งจิต หรือพูดให้เข้าใจง่าย ๆ เช่น แรงจูงใจ หรือสิ่งกระตุ้นผลักดันให้มนุษย์กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผลรวมของการรับรู้ (วิญญาณ) ความรู้สึก (เวทนา) และความจำได้ (สัญญา) ที่ผ่านมา เช่น ตารับรู้วัตถุสิ่งหนึ่ง (วิญญาณ) รู้สึกว่าสวยดี (เวทนา) จำได้ว่ามันเป็นวัตถุกลม ๆ ใส ๆ (สัญญา) แล้วเกิดแรงจูงใจผลักดันให้เอื้อมมือไปหยิบมาเพราะความอยากได้ ขั้นตอนนี้แหละเรียกว่าสังขาร สังขารจึงเป็นขั้นตอนที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมซึ่งมีทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว ฝ่ายดีเช่น ศรัทธา สติ เมตตา กรุณา ปัญญา เป็นต้น ฝ่ายชั่วเช่น โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฐิ มิจฉริยะ เป็นต้น
จักขุวิญญาณ, โสตวิญญาณ, ฆานวิญญาณ, ชิวหาวิญญาณ, กายวิญญาณ, มโนวิญญาณ
- การรับรู้ทางตา หรือ “การเห็น” เรียกว่า จักขุวิญญาณ
- การรับรู้ทางหู หรือ “การได้ยิน” เรียกว่า โสตวิญญาณ
- การรับรู้ทางจมูก หรือ “การได้กลิ่น” เรียกว่า ฆานวิญญาณ
- การรับรู้ทางลิ้น หรือ “การลิ้มรส” เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ
- การรับรู้ทางกาย หรือ “การสัมผัสทางกาย” เรียกว่า กายวิญญาณ
- การรับรู้ทางใจ หรือ “การคิด” เรียกว่า มโนวิญญาณ
คุณค่าทางจริยธรรมของขันธ์ 5
ขันธ์ 5 แสดงถึงความเป็นอนัตตา
การมองสิ่งทั้งหลายโดยวิธีการแยกส่วนประกอบตามขันธ์ 5
โลกธรรมเป็นหลักคำสอนที่ปรากฏในพระไตรปิฎกเล่มที่เท่าไหร่?
หนังสือเล่มที่ 23 อังคุตรนิกายอัฎฐกนิบาต ข้อ 159
โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์
ฝ่ายที่มนุษย์พอใจในสี่เรื่องคือ
ได้ลาภ หมายความว่า ได้ผลประโยชน์ ได้ทรัพย์สินเงินทอง ได้โชคลาภ ได้บ้านเรือนที่ดี ฯลฯ
ได้ยศ หมายความว่า ได้รับเติมเต็มใหม่ ฐานที่ดี รสนิยม ได้ตำแหน่ง ได้อานาจ ได้เป็นใหญ่
ได้รับสรรเสริญ คือได้ยินได้ฟังคำชมเชย คำยกย่อง คำสดุดีที่คนอื่นให้เรา
ได้สุข คือได้ความสบายกายสบายใจ ได้ความเบิกบานระเรื่อง ได้ความบันเทิงใจ
โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์
ฝ่ายที่มนุษย์ไม่พอใจในสี่เรื่องคือ
เสียลาภ หมายความ คือสูญเสียลาภที่ได้มาแล้วเสียไป เช่น เสียเงิน เสียทอง ละเมิดกฎหมาย เมื่อระแวงตาย
เสียมยศ หมายถึง ถูกลดความเป็นใหญ่ ถูกถอดจากตำแหน่ง ถูกถอดอำนาจ
ถูกนราธา หมายถึง ถูกตำหนิหรือตีนอนวาไม่ดี หรือใครปฏิเสธถึงความไม่ดีของเราในทางบ่งชี้ เรียกว่าถูกนราธา
ตกทุกข์ คือได้รับความทรมานกายทรมานใจ
ปาณาติบาต
การกระทำที่ปราศจากเจตนาไม่นับเป็นกรรม เช่น ถ้าไม่มีเจตนาเดินไปเหยียบมดตายก็ไม่เป็นกรรม
คำว่า “กรรมนิยาย” ใช้แทนคำไทยที่หมายถึง “กรรม” ในทางพระพุทธศาสนาว่า “กรรมนิยาม” หมายถึงกระบวนการกระทำและผลของการกระทำของมนุษย์ซึ่งมีหลักการกฎกำหนดว่า
คนหว่านพืชเช่นใดย่อมได้ผลเช่นนั้น
ผู้ทำกรรมดีจะได้รับผลดี
ผู้ทำกรรมชั่วจะได้รับผลชั่ว
การแบ่งกรรมตามคุณภาพหรือลักษณะเหตุการณ์ของการกระทำ
กรรมชั่ว (อกุศลกรรม)
การกระทำที่เกิดจากอกุศลมูล คือ ความโลภ , ความโกรธ (โกรธ), และความหลง (หลง)
กรรมดี (กุศลกรรม)
การกระทำที่เกิดจากกุศลมูล คือ ความโกรธ (อโลภะ), ความโทสะ (อโทสะ), และ (อโมหะ)
กรรมแบ่งตามทางแสดงออก
การกระทำทางกาย (กายกรรม) สามารถแบ่งได้เป็น: กายสุจริต 3 กายทุจริต 3
การกระทำทางวาจา (วจีกรรม) สามารถแบ่งได้เป็น: วจีสุจริต 3 วจีทุจริต 3
การกระทำทางใจ (มโนกรรม) สามารถแบ่งได้เป็น: มโนสุจริต 3 มโนทุจริต 3
กรรม 12 สามารถแบ่งเป็น 3 หมวดได้ดังนี้
กรรมแบ่งตามเวลาที่ให้ผล มี 4 ข้อ
กรรมแบ่งตามหน้าที่ที่ให้ผล มี 4 ข้อ
กรรมแบ่งตามหนักเบา มี 4 ข้อ
กรรมแบ่งตามสภาพที่สัมพันธ์กับการให้ผลสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทได้ดังนี้:
อกุศลกรรม เช่น ฆ่าสัตว์ลักทรัพย์ผิดในกามมุสาวาทดื่มสุราเมรัย
กุศลกรรม เช่น การประพฤติตามกุศลกรรมบท 10
กรรมที่เป็นทั้งอกุศลกรรมและกุศลกรรม เช่น การกระทำของมนุษย์ทั่วไป
กรรมที่ไม่เป็นทั้งอกุศลกรรมและกุศลกรรม เช่น เจตนาเพื่อละกรรมสามอย่างข้างต้น หรือว่าโดยองค์ธรรม ได้แก่ โพชฒงค์ 7 หรือมรรค์มีองค์ 8
กรรมแบ่งตามกาลเวลาที่ให้ ผล สามารถจําแนกกรรมประเภทนี้แบ่งย่อยเป็น 4 ประเภท คือ
1) กรรมใหผลทันตาเห็นหรือในชาตินี้ (ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม)
2) กรรมใหผลในกาลข้างหน้าหรือชาติหน้า (อุปัชชเวทนียกรรม)
3) กรรมใหผลในระยะเวลานานข้างหน้าหรือชาติต่อ ๆ ไป (อปราปรเวทนียกรรม)
4) กรรมที่ไม่มีโอกาสให้ผลหรือกรรมที่ให้ผลสาเร็จแล้ว (อโหสิกรรม)
กรรมแบ่งตามหน้าที่ที่ให้ผล จําแนกออกเป็น 4 ประเภท
1) กรรมนําไปเกิด (ชนกกรรม) กรรมชนิดนี้ทําหน้าที่พาไปเกิดอย่างเดียว เมื่อนําไปเกิดตามเงื่อนไขที่สัตว์กระทําไว้แล้วก็หมดหน้าที่
2) กรรมสนับสนุน (อุปัตถัมภกกรรม) กรรมชนิดนี้ทําหน้าที่สนับสนุนชนกกรรม ในขณะเดียวกันก็ซ้ําเติมด้วยถ้าเป็นกรรมชั่ว เช่น ชนกกรรมแต่งมาให้ถือกําเนิดในตระกูลดีก็สนับสนุนให้ดียิ่งขึ้น ถ้าแต่งมาให้กําเนิดในตระกูลต่ําก็คอยซ้ําเติมให้เลวลงไปอีก
3) กรรมบีบคั้นหรือหันเหทิศทาง(อุปปีฬกกรรม) กรรมชนิดนี้ทําหน้าที่บีบคั้นมิให้ดีเต็มที่หรือ มิให้เลวเต็มที่
4) กรรมตัดรอน (อุปฆาตกรรม) กรรมชนิดนี้ทําหน้าที่คล้ายกับอุปปีฬกกรรมแต่มีพลังแรงกว่า ขณะที่กรรมอื่นกําลังให้ผลอยู่กรรมชนิดนี้จะไปตัดรอนและให้ผลชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ เช่น คนกําลังประสบความสําเร็จมีความสุขเต็มที่แต่ก็ต้องประสบหายนะลงโดยปัจจุบันทันด่วน หรือกําลังทุกข์หนัก แต่ก็เกิดเหตุการณ์ดีๆ ขึ้นช่วยให้พ้นทุกข์อย่างปาฏิหาริย์
กรรมแบ่งตามหนักเบาแบ่งออกเป็น4ประเภทคือ
1) กรรมหนัก (ครุกรรม) หมายเอาอนันตริยกรรม 5 คือฆ่าบิดา ฆ่ามารดา ฆ่าพระอรหันต์ทําพระโลหิตพระพุทธเจ้าให้ห้อ ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน (สังฆเภท)
2) กรรมเคยชิน (พหุลกรรม หรือ อาจิณกรรม) ได้แก่กรรมที่ทําซ้ําซาก เช่น คนที่ฆ่าสัตว์เป็นประจํากรรมนี้หนักรองจากครุกรรมถ้าไม่มีกรรมอื่นกรรมชนิดนี้จะให้ผลก่อน
3) กรรมใกล้ตาย (อาสันนกรรม) หมายถึงกรรมที่คนกระทําเมื่อจวนจะตายเช่นคนทํากรรมมามากทั้งชั่วทั้งดีเวลาจะตายนึกถึงกรรมดีที่ทําไว้ได้เป็นต้นเมื่อตายลงกรรมนี้จะทําหน้าที่นําไปเกิดในสุคติภพทันที
4) กรรมสักว่าทํา (กตัตตากรรม) หมายถึง กรรมที่ทําด้วยเจตนาอ่อนมากเป็นกรรมชนิดอ่อนต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นกรรมนี้จึงจะให้ผลเช่นให้ทานแก่ขอทานโดยไม่เต็มใจให้
กรรมวิบาก
ผลแห่งกรรม
การให้ผลของกรรมนั้นเราอาจพิจารณาได้ 3 ระดับคือ
1) ระดับภายในจิตใจหรือคุณภาพจิต กรรมทําให้เกิดผลในจิตใจ มีการสั่งสมคุณสมบัติคือคุณภาพทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่วมีอิทธิพลปรุงแต่งความรู้สึกนึกคิดความโน้มเอียงต่าง ๆ ทุกครั้งที่บุคคลทําความชั่วเช่นด่าหรือนินทาคนอื่นหรือคิดพยาบาทคนอื่นนับว่าเขา“ได้รับผลชั่ว”เป็นการตอบแทนทันที
ระดับบุคลิกภาพและอุปนิสัย กรรมที่ทําลงไปทําให้เกิดผลในการสร้างเสริมลักษณะนิสัยปรุงแต่งลักษณะความประพฤติการแสดงออกท่าทีการวางตัวการปรับตัวบุคลิกลักษณะหรืออุปนิสัยที่ดีเช่น มีเมตตา อารีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่อิจฉาริษยา ไม่อาฆาตพยาบาท ไม่วู่วาม พูดจาไพเราะ มีความมั่นคงทางอารมณ์เป็นต้น
ระดับภายนอกหรือผลทางสังคม ผลของกรรมระดับนี้คือสิ่งที่มองเห็นในชีวิตประจําวัน เช่นลาภยศสรรเสริญสุขทุกข์อันเป็นผลที่เขาได้รับในสังคมที่เขาอยู่ผลภายนอกนี้